หอมหัวใหญ่
  ชื่อสามัญภาษาไทยหอมหัวใหญ่
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษOnion
  ชื่อที่เกี่ยวข้องหัวหอม หอมหัวใหญ่ หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว
  ชื่อวิทยาศาสตร์Allium cepa L.
  ชื่อวงศ์Amaryllidaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หอมหัวใหญ่ จัดเป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ส่วนกลางของหัวจะเป็นลำต้นที่แท้จริง มียอดของลำต้นเจริญออก ซึ่งอาจมีได้มากกว่า 1 ยอด ในต้นเดียว ส่วนรากของหอมหัวใหญ่มีระบบเป็นรากฝอย รากมีขนาดเล็กสีน้ำตาล สามารถหยั่งลงลงดินได้ 15-20 ซม. และรากแพร่ออกด้านข้างได้ 20-40 ซม. มีจำนวนรากมากกว่า 20-100 ราก 

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ ข้างในกลวงมีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด 

ดอกหอมหัวใหญ่ จะเจริญออกตรงกลางของลำต้นแทนที่ของใบ ดอกจะออกเป็นช่อ แต่ละช่อมีดอกได้มากกว่า 50 ดอก ดอกประกอบด้วยก้านดอกทรงกลม ยาว ได้มากกว่า 30 ซม. ด้านในก้านกลวงเป็นรู ถัดมาเป็นดอก โดยดอกตูมจะมีกลีบเลี้ยงหุ้มคลุมดอกไว้หมด เมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยงจะปริออก โผล่เป็นกลีบดอกออกให้เห็น กลีบดอกมีจำนวน 6 กลีบ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 6 อัน มี 2 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบเท่ากัน และมีเกสรตัวเมีย 1 อัน โดยดอกจะทยอยบานจากล่างขึ้นบน 

เมล็ดหอมหัวใหญ่มีขนาดเล็ก สีดำ เมล็ดมีลักษณะเป็นพู 3 พู แต่ละพูมีเมล็ด 1-2 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยดับกลิ่นคาวในอาหารได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยทำให้กระดูกอ่อนนุ่ม เมื่อนำมาใช้ต้มกับกระดูกสัตว์
  • ใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หอมดอง หอมแห้งสำหรับประกอบอาหารก็ได้
  • นำมาสกัดทำเป็นเครื่องสำอางบางชนิด เช่น ยาสระผม ยาบำรุงเส้นผม
  • ช่วยขจัดรังแคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราต่างๆ ได้
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • เป็นยาบำรุงธาตุช่วยขับลม
  • แก้ท้องร่วง
  • แก้ท้องอืดเฟ้อ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • แก้ลมพิษ
  • แก้ปวดบวม
  • ช่วยให้ไข้หวัดหายเร็วขึ้น
  • ช่วยให้แผลแห้ง และหายเร็ว
  • ช่วยลดการติดเชื้อของแผล
  • รักษาแผลเป็นหนอง
  • ช่วยลดอาการอักเสบของแผล
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยสลายการตกค้างของอาหาร
  • ทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยฆ่าพยาธิ
  • ช่วยการไหลเวียนในอวัยวะภายในคล่องตัว 
  • รักษาบวมจากพิษ ด้วยการใช้ภายนอก 
  • รักษาสภาพของหลอดเลือดในหลายๆ ด้าน
  • ช่วยลดความดันเลือด
  • ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจและสมอง
  • ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  • ช่วยลดการเกาะตัวของลิ่มเลือด
  • ช่วยลดระดับไขมันในเลือด
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยต้านการก่อมะเร็ง
  • ช่วยลดภาวะกระดูกพรุน 
  • ช่วยเพิ่มไขมันดี (เอชดีแอล) ในเลือด


 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • หัวใช้รับประทานเป็นผัก หรือนำมาใช้ปรุงอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวในอาหารได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยทำให้กระดูกอ่อนนุ่ม เมื่อนำมาใช้ต้มกับกระดูกสัตว์
  • น้ำมันหอมระเหยจากหัวหอมสามารถนำมาใช้ทาสิวอักเสบเพื่อช่วยลดการอักเสบได้
  • ช่วยรักษาฝ้า ตามตำราฝรั่งใช้หอมหัวใหญ่นำมาดองกับไวน์แล้วแช่ทิ้งไว้สักเดือน แล้วใช้น้ำที่แช่มาทาเพื่อรักษาฝ้า เห็นว่าได้ผล
  • ประโยชน์ของหัวหอมกับการนำมาสกัดทำเป็นเครื่องสำอางบางชนิด เช่น ยาสระผม ยาบำรุงเส้นผม เนื่องจากมีสารเพกติน กลูโดคินิน และไกลโคไซด์ ที่จะช่วยขจัดรังแคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราต่าง ๆ ได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  [9 ต.ค. 2013].
  2. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ .  “พืชเครื่องเทศ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [9 ต.ค. 2013].
  3. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th.  [9 ต.ค. 2013].
  4. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. “สมุนไพรพื้นบ้านหัวหอมใหญ่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th.  [9 ต.ค. 2013].
  5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th.  [9 ต.ค. 2013].
  6. ผู้จัดการออนไลน์.  “หอมใหญ่ ยาครอบจักรวาลประจำบ้าน“.  อ้างอิงใน: หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 117.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th.  [9 ต.ค. 2013].
  7. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ACFS).  “หอมใหญ่ดีป้องกันมะเร็งได้“.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.acfs.go.th.  [9 ต.ค. 2013].
  8. มูลนิธิหมอชาวบ้าน.  นิตยสารหมอชาวบ้าน คอลัมน์: แพทย์แผนจีน เล่มที่ 321.  “หอมหัวใหญ่“.  (นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th [9 ต.ค. 2013].