|
ชื่อสามัญภาษาไทย | เท้ายายม่อม |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Tacca, East Indian arrowroot , Polynesian arrowroot , South Sea arrowroot , Thahiti arrowroot |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze |
ชื่อพ้อง | Tacca abyssinica Hochst. ex Baker, Tacca gaogao Blanco, Chaitaea tacca Sol. ex Seem. |
ชื่อวงศ์ | Dioscoreaceae |
ชื่อท้องถิ่น | ท้าวยายม่อม , สิงโตดำ (ภาคกลาง),นางนวล (ระยอง) ,บุกรอ (ภาคใต้,ตราด) |
เท้ายายม่อมจัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวใต้ดินหรือลำต้นจริงสะสมอาหาร รูปร่างกลมแบน หรือรีกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-4 นิ้ว เปลือกผิวด้านนอกบางผิวเรียบเมื่อหัวยังอ่อนอยู่จะเป็นสีขาว แต่เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวใส ส่วนเหนือดินหรือลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1.5 เมตร เป็นลำต้นเทียมที่เจริญโผล่ออกมาจากหัวหรือลำต้นจริง มีลักษณะทรงกลม มีเปลือกสีเขียว ประด้วยลายจุดสีน้ำตาลอมดำกระจายทั่ว ด้านในเป็นเยื่ออ่อนแตกใบออกด้านข้าง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ เวียนออกเป็นแนวรัศมี ใบมีขนาดใหญ่และเว้าลึก รูปฝ่ามือ ปลายแยกเป็น 3 แฉก แต่ละแฉกขอบเว้าลึก กว้าง 50-70 เซนติเมตร และยาว 120 เซนติเมตร ก้านใบรวมทั้งกาบใบ ยาว 20-170 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ก้านใบทรงกลมสีดำแกมเขียว ดอกออกเป็นช่อ แบบซีรั่ม มีก้านดอกหลักที่เป็นลำต้นเทียม ยาวประมาณ 100-170 เซนติเมตร โดยช่อดอกอยู่ปลายสุด ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกย่อยประมาณ 15-40 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะเป็นรูปกรวย ถูกหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวประด้วยสีดำ ด้านในเป็นกลีบดอก จำนวน 5 กลีบ มีสีเหลืองหรือสีเขียวอมม่วง ภายในมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ปลายแผ่นเป็นแผ่น ตรงกลางเป็นก้านเกสรเพศตัวเมีย ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก ระหว่างดอกย่อยมีใบประดับเป็นเส้นทรงกลมยาวสีดำหรือสีม่วงอมน้ำตาล ประมาณ 20-40 เส้น/ช่อดอก ซึ่งแต่ละเส้นจะยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลมีลักษณะทรงกลมปลายเรียวแหลม ผลดิบมีเปลือกหุ้มผลมีสีเขียว เป็นสันนูนจากขั้วผลลงท้ายผล ประมาณ 5-6 สัน ท้ายผลมีกลีบห้อยเป็นติ่ง ส่วนผลแก่หรือผลสุกมีสีเหลือง โดยมีขนาดผลประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ภายในผลมีเปลือกหุ้มแข็ง ด้านในมีเมล็ดรูปไข่สีน้ำตาลผิวลาย ขนาด 5-8 มิลลิเมตรจำนวนมาก | |
| |
| |
|