น้ำนมราชสีห์
  ชื่อสามัญภาษาไทยน้ำนมราชสีห์
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษAsthma weed, Garden spurge, Snake weed.
  ชื่อวิทยาศาสตร์Euphorbia hirta Linn.
  ชื่อวงศ์Euphorbiaceae
  ชื่อท้องถิ่นน้ำนมราชสีห์ใหญ่, นมราชสีห์, ผักขมแดง (ภาคกลาง), หญ้าน้ำหมึก (ภาคเหนือ), หญ้าหลังอึ่ง (ไทยใหญ่), ไต่ป่วย เอี่ยงเช่า, ป่วยเอี้ยง (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

น้ำนมราชสีห์จัดเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 15 – 40 เซนติเมตร เลื้อยแผ่ไปตามผิวดิน ชูส่วนยอดตั้งขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านมีสีแดง มีขนสีน้ำตาลปนเหลืองปกคลุมและมียางสีขาว 

ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน มีลักษณะรี ๆ คล้ายปีกแมลง ยาว 1-4 ซ.ม. ปลายใบแหลมสั้น ฐานใบโค้งเข้าไม่เท่ากัน ขอบใบมีรอยหยักเล็ก ๆ คล้ายฟันเลื่อย กลางใบมักมีจุดสีม่วงแดง เห็นเส้นกลางใบและเส้นใบชัด ๆ ออกใกล้โคนใบอีก 3-4 เส้น ท้องใบมีขนสีน้ำตาลเหลือง 

ดอกออกจากซอกใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อยออกเป็นกระจุกแน่นเป็นกลุ่มกลม ๆ 2-3 กลุ่ม มีสีเขียวปนม่วงแดง กลุ่มหนึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ดอกย่อยไม่มีก้านดอกหรือมีก็สั้นมากเกสรตัวผู้มีหลายอันอยู่บนฐานดอก รังไข่มี 1 อัน ลักษณะทรงกลมออกสามเหลี่ยม มีก้านยื่นออกมาจากกลางดอก ที่ปลายมียอดเกสรตัวเมียเป็นเส้นสีแดงสั้น ๆ 3 เส้น 

ผลมีลักษณะกลมแกมรูปสามเหลี่ยมหรือแบบแคปซูล มี 3 พู ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม และมีรอยแยก 3 รอย และเมื่อผลแห้งแล้วจะแตก มี 1 เมล็ดในแต่ละซีก เมล็ดมีขนาดเล็กผิวเรียบสีน้ำตาลแก่หรือสีแดง ลักษณะเป็นรูปรีและเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร

สรรพคุณทั่วไป

  • ใช้ดับร้อน
  • แก้พิษ
  • ช่วยขับน้ำนม
  • แก้ชื้น
  • แก้ผดผื่นคัน
  • แก้ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน
  • แก้หนองใน
  • แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
  • แก้ฝีในปอด
  • แก้ฝีที่เต้านม
  • แก้ฝีพิษบวมแดง
  • แก้ขาเป็นกลาก
  • แก้แผลเน่าเปื่อย
  • ใช้เป็นยาบำรุง
  • ใช้บำรุงธาตุ
  • ขับปัสสาวะ
  • แก้ไอหือ
  • แก้อาเจียน
  • แก้ไข้มาเลเรีย
  • แก้หืดหอบ
  • แก้หลอดลมอักเสบ
  • แก้แพ้อากาศ
  • แก้กระษัย
  • แก้ไตพิการ
  • รักษาโรคผิวหนัง
  • ถ่ายพยาธิ
  • แก้เด็กเป็นซาง
  • ใช้กัดหูด ตาปลา
  • ใช้แก้ไอ
  • แก้หมดสติ
  • ใช้ลดไข้
  • รักษาโรคบิด

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • แก้บิดมูกเลือด ใช้ทั้งต้นแห้ง 15-25 กรัม บิดถ่ายเป็นเลือดให้ผสมน้ำตาลทราย หากบิดถ่ายเป็นมูกให้ผสมน้ำตาลทรายแดง ใช้น้ำต้มสุกตุ๋นเอาน้ำกิน
  • แก้เบาขัด หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ต้นสด 20-60 กรัม ผสมน้ำต้มกินวันละ 2 ครั้ง
  • แก้ฝีในปอด ใช้ต้นสด 1 กำมือ ตำคั้นเอาน้ำครึ่งแก้ว ผสมน้ำดื่ม
  • แก้ฝีที่เต้านม ใช้ต้นสด 60 กรัม ร่วมกับเต้าหู้ 120 กรัม ต้มกิน และใช้ต้นสด 1 กำมือ ผสมเกลือเล็กน้อยตำผสมน้ำร้อนเล็กน้อยพอกบริเวณที่เป็น
  • แก้เด็กเป็นตานขโมย (ผอม พุงโร ก้นปอด) ใช้ต้นสด 30 กรัม กับตับหมู 120 กรัม ตุ๋นกิน
  • ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะแดงหรือขุ่นข้น ใช้ต้นแห้วชงกับน้ำร้อนดื่ม
  • ใช้เพิ่มน้ำนมและฟองน้ำนมให้สะอาด ระงับอาการชัก แก้ไอ  แก้หืด โดยใช้ต้นสด ต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้เด็กศีรษะมีแผลเปื่อยเน่า มีน้ำเหลือง ใช้ต้นสด 1 กำมือ ต้มเอาน้ำชะล้างแผล
  • แก้ขาเน่าเปื่อย ใช้ต้นสด  100  กรัม แช่ในแอลกอฮอล์  75  เปอร์เซ็นต์ ครึ่งลิตร  3-5  วัน เอาไว้ทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ
  • แก้บาดแผลมีเลือดออก ใช้ใบสดขยี้หรือตำพอกแผล ห้ามเลือด
  • ยางใช้กัดหูด ตาปลา ใช้ยางขาวทาที่เป็นบ่อย ๆ
  • นอกจากนี้ตามตำราแพทย์แผนจีน ระบุขนาดทางใช้ไว้ดังนี้
  • แก้ฝีมีหนองลึก ๆ ใช้ใบสด 1 กำมือ ผสมเกลือ และน้ำตาลแดงอย่างละเล็กน้อยตำพอก
  • แก้ลำไส้อักเสบอย่างเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย ใช้ทั้งต้นวันละ 30-160 กรัม ต้มน้ำแบ่งให้กินเป็น 3 ครั้ง หรือทำเป็นยาเม็ดกินครั้งละ 5 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.disthai.com/17125874/น้ำนมราชสีห์ 
  2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “Garden spurge“. อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรตอนที่ 5 (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [10 ธ.ค. 2013]. 
  3. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี . “น้ำนมราชสีห์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [10 ธ.ค. 2013]. 
  4. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “น้ำนมราชสีห์“. (ไพร มัทธวรัตน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [10 ธ.ค. 2013]. 
  5. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 14 คอลัมน์: อื่น ๆ. “น้ำนมราชสีห์และน้ำนมราชสีห์เล็ก“. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [10 ธ.ค. 2013]. 
  6. สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “น้ำนมราชสีห์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: web3.dnp.go.th. [10 ธ.ค. 2013]. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม. “น้ำนมราชสีห์ใหญ่“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.ndk.ac.th. [10 ธ.ค. 2013]. 
  7. ชีวจิต. “บทความอาจารย์สาทิส“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.cheewajit.com. [10 ธ.ค. 2013]. ไทยรัฐออนไลน์. “น้ำนมราชสีห์ แก้หูดสรรพคุณดี“. (นายเกษตร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [10 ธ.ค. 2013]. 
  8. กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์. “น้ำนมราชสีห์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dld.go.th. [10 ธ.ค. 2013]. 
  9. ฐานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. “น้ำนมราชสีห์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 202.29.15.9 (arit.kpru.ac.th). [10 ธ.ค. 2013]. 
  10. ไทยอินโฟเน็ต. “growth hormone จากต้นน้ำนมราชสีห์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thaiinfonet.com. [10 ธ.ค. 2013]. 
  11. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาอุบลราชธานี. “การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของพืชสมุนไพรในสกุล Euphorbia“. (นรีรัตน์ ภูมลี, ฤทธิรงค์ ทองออน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 202.28.48.80. [10 ธ.ค. 2013]. 
  12. สมุนไพรกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “น้ำนมราชสีห์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.msu.ac.th. [10 ธ.ค. 2013]. 
  13. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “น้ำนมราชสีห์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [10 ธ.ค. 2013].