จามจุรี
  ชื่อสามัญภาษาไทยจามจุรี
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษEast Indian, Rain Tree
  ชื่อวิทยาศาสตร์Albizia saman (Jacq.) F.Mull
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นฉำฉา, ลัง, สารสา, สำสา (ภาคเหนือ), ตุ๊ดตู่ (ตาก), ก้ามกราม, ก้ามกุ้ง, ก้ามปู (ภาคกลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    จามจุรีเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม.
    
    ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับใบย่อย 2 - 10 คู่ รูปไข่เฉียงถึงรูปรี หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 0.7 - 4 ซม. ยาว 1.5 - 6 ซม. ผิวบนเกลี้ยง ผิวล่างมีขนประปราย
    
    ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง มี 7 - 8 ช่อย่อย ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น ออกที่ซอกใบ ดอกกลางของช่อย่อยไม่มีก้าน ขนาดใหญ่กว่าดอกข้างซึ่งมีก้าน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 7 - 8 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีชมพู ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน แบน สีน้ำตาลดำ เมล็ดรูปรี

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบ
ต้มน้ำดื่ม เป็นยาเจริญอาหาร
  • แก่น
ผสมใบหนาดใหญ่ ลำต้นข่อย พิมเสนและการบูร ต้มน้ำดื่ม แก้หืด

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 15.