ตะกู
  ชื่อสามัญภาษาไทยตะกู
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษBur-flower Tree
  ชื่อที่เกี่ยวข้องกระทุ่ม, กรองประหยัน, กระทุ่มบก, โกหว่า, กว๋าง, แคแสง, ตะโกส้ม,ตะโกใหญ่,ปาแย, ตุ้มก้านซ้วง, ตุ้มก้านยาว, ตุ้มเนี่ยง, ตุ้มหลวง, ตุ้มขี้หมู, ทุ่มพราย, ปะแด๊ะ, เปอแด๊ะ, สะพรั่ง
  ชื่อวิทยาศาสตร์Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.
  ชื่อวงศ์Rubiaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ต้นตะกูเป็นไม้ขนาดใหญ่ โดยมีความสูงประมาณ 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่ม ลำต้นตรงเปลา เปลือกลำต้นมีสีเทาปนสีน้ำตาล เปลือกจะแตกออกเป็นร่องตามแนวยาว ส่วนเนื้อไม้จะมีสีเหลืองอ่อนอมสีเทา ไม่มีแก่น เนื้อมีความมันวาว เสี้ยนตรง และเนื้อค่อนข้างหยาบแต่สม่ำเสมอ กิ่งตั้งฉากกับลำต้น และลิดกิ่งเองตามธรรมชาติ เมื่อมีลมแรง พายุ กิ่งอาจหักง่าย

    ใบเป็นใบเดี่ยว รูปทรงรีหรือรูปไข่ ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ใบมีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-24 เซนติเมตร โคนใบป้าน ส่วนปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม เนื้อใบหนา หลังใบมีขนสากๆ สีของใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบมีประมาณ 7-14 คู่

    ดอกของต้นตะกูมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อติดกันแน่น ดอกมีสีขาวปนสีเหลืองหรือสีส้ม กลิ่นดอกหอมอ่อนๆ ซึ่งจะออกดอกเป็นกระจุกหรืออาจเป็นช่อเดี่ยวที่บริเวณปลายกิ่ง แต่จะไม่เกิน 2 ช่อ โดยดอกจะออกในช่วงเดือนมิถุนายน-เดือนกันยายน

    ผลมีลักษณะเป็นผลเดี่ยว ผลมีทรงกลมอยู่บนช่อของดอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผลคือ 2.4-6 เซนติเมตร ผลมีสีเหลืองเข้ม ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กประมาณ 0.66-0.44 มิลลิเมตร หากต้องการเมล็ดจำนวน 1 กิโลกรัม อาจต้องใช้เมล็ดประมาณ 18-26 ล้านเมล็ดเลยทีเดียว

สรรพคุณทั่วไป

  • เปลือก แก้ไข้ แก้ปวดมดลูก บำรุงร่างกาย อมกลั้วคอ เปลือกแก้เยื่อเมือกในปากอักเสบ
  • ใบแก้ท้องเสีย ปวดมวนในท้อง ระงับกลิ่นปาก
  • ดอกบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

นำเนื้อไม้ไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิด เนื่องจากไม้ตะกูมีสีสวยงาม นั่งก็คือสีเหลือง หรือสีขาว จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของไม้ตะกู คือ เนื้อไม้เบา เมื่อเทียบกับไม้ประดู่ หรือไม้มะค่า อีกทั้งยังสามารถทนทานต่อปลวกหรือมอดไม่ให้กัดกินได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://kaset.today/พันธุ์ไม้/ต้นตะกู/
  2. http://paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/ตะกู.htm
  3. https://forprod.forest.go.th