เตยหอม
  ชื่อสามัญภาษาไทยเตยหอม
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษPandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom wangi. Palm, Burmese Fishtail Palm, Clustered Fishtail Palm, Common Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm, Tufted Fishtail Palm
  ชื่อที่เกี่ยวข้องปาแนะวองิง
  ชื่อวิทยาศาสตร์Pandanus amaryllifolius Roxb.
  ชื่อพ้องPandanus Orderus Ridl.
  ชื่อวงศ์Pandanaceae
  ชื่อท้องถิ่นใบเตย, ต้นเตย, เตยหอมใหญ่, เตยหอมเล็ก (ภาคกลาง), หวานข้าวใหม่ (ภาคเหนือ), พังลั้ง (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เตยหอมเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ 

ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ใช้รักษาโรคหัด
  • รักษาเลือดออกตามไรฟัน
  • แก้หวัด
  • รักษาอาการตับอักเสบ
  • ช่วยดับพิษไข้
  • แก้โรคหัด
  • แก้ท้องอืด
  • แก้กระหายน้ำ
  • แก้ร้อนใน
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • รักษาเบาหวาน
  • ใช้รักษาโรคตับ ไตอักเสบ
  • รักษาโรคหืด
  • แก้หนองใน
  • แก้พิษโลหิต
  • แก้ตานซางในเด็ก
  • ช่วยละลายก้อนนิ่วในไต

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม 
  • ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง 
  • ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://skm.ssru.ac.th/news/view/a273
  2. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_03_3.htm
  3. https://www.disthai.com/17040525/เตย
  4. www.gotoknow.org (ทิพย์สุดา)
  5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)