|
ชื่อสามัญภาษาไทย | อบเชยเถา |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Atherolepis pierrei Costantin |
ชื่อวงศ์ | Apocynaceae |
ชื่อท้องถิ่น | เครือเขาใหม่ (แพร่), เชือกเถา (นครสวรรค์), อบเชยป่า (กรุงเทพฯ), กำยานเครือ เครือเขาใหม่ เถาเชือกเขา (ภาคเหนือ), จั่นดิน กู๊ดิน (ภาคอีสาน), อบเชยเถา (ภาคกลาง), ตำยาน |
ต้นอบเชยเถา จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก เลื้อยพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน มีความยาวได้ประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นหรือเถามีขนสั้นและมีน้ำยางสีขาว เปลือกมีช่องระบายอากาศรูปไข่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เถามีลักษณะกลมเรียว สีน้ำตาลเทาถึงสีน้ำตาลม่วง ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3-2 มิลลิเมตร ส่วนรากมีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกอบเชยต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบเถา เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด พบขึ้นทั่วไปในทุกภาคของประเทศตามชายป่า ใบอบเชยเถา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-2.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ผิวใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มหรือสีน้ำเงิน ลายเส้นใบเป็นสีขาว มองเห็นได้ชัดเจน ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มียางสีขาวข้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร และมีขน ส่วนหูใบนั้นจะสั้นมาก ใบอ่อนจะมีขนตามเส้นกลางใบและเส้นใบ แล้วขนนั้นจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองอมส้ม ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีชมพูอ่อนหรือชมพูอมส้ม โคนกลีบดอกชิดติดกันเป็นรูปถ้วยหรือเป็นท่อสั้น ๆ ตรงปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม กลีบดอกจะบิดไปในทางเดียวกัน เมื่อดอกบานจะกางออกแบบดอกมะเขือ มีขนขึ้นประปรายทั้งด้านในและด้านนอก ดอกมีเกสรเพศผู้ติดอยู่กับผนังใจกลางดอก โดยมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ปลายแหลม ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน ปลายเกสรจะใหญ่กว่าท่อเกสร และมีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม ปลายแหลมสั้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ยาว ติดกันเป็นคู่ ผิวผลเนียน มีร่องเป็นแนวตามยาว ผลมีขนาดยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ด | |
| |
|