หนามเกี่ยวไก่
  ชื่อสามัญภาษาไทยหนามเกี่ยวไก่
  ชื่อที่เกี่ยวข้องหนามวัวซัง
  ชื่อวิทยาศาสตร์Capparis seperia Linn
  ชื่อวงศ์Capparaceae
  ชื่อท้องถิ่นหนามหัวซัง วัวซัง หางนกกี้ (เลย) ผีไหว้ดาด (สงขลา) หนามเกี่ยวไก่ (ภาคกลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หนามเกี่ยวไก่เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 มม. แตกกิ่งก้านสาขากว้างขวาง บางทีเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม สีน้ำตาลอมเหลือง หรือ เทา เมื่อแก่จะเกลี้ยง กิ่งแข็งแรง คดไปมา เป็นแท่งรูปทรงกระบอก หนามแข็ง โค้ง ยาว 3-5 มม. 

ใบ รูปรี บางทีรูปไข่กลับ หรือ รูปไข่ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 3.5-5.5 ซม. ปลายใบค่อนข้างกลม มักมีแอ่งเล็ก ๆตรงกลางใบ โคนใบกลม หรือ กึ่งรูปหัวใจ เนื้อใบค่อนข้างหนามันคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว 2-6 มม. 

ดอก ออกเป็นช่อแผ่คล้ายร่มที่ปลายยอด หรือ ตามง่ามใบ มี 2-20 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 ซม. เกลี้ยง ตาดอกกลม วัดผ่าศูนย์กลาง 4 มม. กลีบรองกลีบดอก รูปไข่ กว้าง 3-5 มม. ยาว 4-6 มม. บางทีมีขน กลีบคู่นอก ส่วนขอบบนแคบ คู่ในบางทีเล็กกว่า เนื้อบาง กลีบดอก กว้าง 1.5-3 มม. ยาว 4.5-7.5 มม. เนื้อบางมาก สีขาว มีขนนุ่มเล็กน้อย เกสรตัวผู้มี 30-45 อัน ยาว 7-12 มม.ก้านชูเกสรผู้สีขาว อับเรณูกว้าง 1 มม. ยาว 1.5 มม. ก้านชูรังไข่ยาว 6-10 มม. มักมีขนนุ่มที่โคน รังไข่ รูปไข่ กว้าง 1 มม ยาว 1.5 มม. เกลี้ยง. 

ผล สด ค่อนข้างกลม วัดผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ก้านผลค่อนข้างเล็ก เปลือกค่อนข้างหนามัน สีเหลืองอมขาว. เมล็ด มี 1-2. กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 8 มม.

สรรพคุณทั่วไป

  • ทั้งต้น รสเฝื่อน ต้มน้ำดื่ม ขับน้ำเหลืองเสีย ขับพิษเลือดขับพิษน้ำเหลือง บำรุงร่างกาย แก้โรคผิวหนัง

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ยุคก่อนนิยมนำมาต้มเป็นยาแก้พิษขับน้ำเหลือง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.xn--42cg8cuanoj5b9czdzg.com/16964026/สมุนไพรหนามเกี่ยวไก่
  2. https://thailand-an-field.blogspot.com/2010/03/blog-post_27.html