อังกาบหนู
  ชื่อสามัญภาษาไทยอังกาบหนู
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษPorcupine flower
  ชื่อวิทยาศาสตร์Barleria prionitis Linn.
  ชื่อวงศ์Acanthaceae
  ชื่อท้องถิ่นเขี้ยวแก้ว , เขี้ยวเนื้อ (ภาคกลาง) , มันไก่ (ภาคเหนือ)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อังกาบหนูเป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 ม. เกลี้ยง มีหนามรอบข้อ ยาว 1-2 ซม. 

ใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ยาว 4-12 ซม. ปลายแหลม มีติ่งแหลม โคนสอบเรียว ขอบมีขนแข็ง แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบยาวได้ถึง 2.5 ซม. 

ช่อดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งคล้ายช่อเชิงลดสั้น ๆ ใบประดับรูปแถบ ยาวประมาณ 1 ซม. ใบประดับย่อยเป็นหนาม ติดทน ยาว 1-1.5 ซม. กลีบเลี้ยงคู่นอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ปลายมีติ่งหนาม กลีบคู่ในรูปไข่ ปลายแหลมยาว ดอกสีเหลืองอมส้ม หลอดกลีบดอกยาว 2-2.5 ซม. กลีบบนยาวเท่า ๆ หลอดกลีบดอก กลีบล่างขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 2 อัน ยื่นเลยปากหลอดกลีบเล็กน้อย เป็นหมัน 2 อัน ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้ 

ผลรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 ซม. ปลายมีจะงอย เมล็ดมี 2 เมล็ด แบน รูปไข่ ยาว 5-7 มม. มีขนคล้ายไหม

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ยาขับปัสสาวะ และยาชูกำลัง รักษาไข้, โรคไขข้อ โรคตับ ท้องอืด ท้องผูก โรคดีซ่าน รักษาบาดแผล และเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน 
  • เปลือก ต้มกินลดเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้บ้วนปากแก้ปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน ลำต้น ใช้ลดอาการอักเสบ และโรคระบบทางเดินอาหาร 
  • ดอก ต้มกินแก้โรคไมเกรน ฝีหนอง อาการบวมน้ำ อาการไอเป็นเลือด ปัสสาวะและท่ออสุจิขัด ทำให้เชื้ออสุจิลดจำนวนช่วยในการคุมกำเนิด 
  • ทั้งต้นรวมราก ต้มกินมีสรรพคุณขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงตับ บรรเทาอาการดีซ่าน แก้โรคท้องมาน บรรเทาอาการแขนขาอ่อนแรง ไขข้ออักเสบ ให้อัณฑะขยายตัว ลดอาการปวดร้าวจากการกดทับรากประสาทไขสันหลัง ผสมน้ำผึ้งกินแก้หอบหืด 
  • ปรากฏในตำรับพระโอสถพระนารายณ์ 
  • 17 ยากินขนานหนึ่ง 26 ยากินขนานหนึ่ง

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ราก บดใช้ประคบอาการบวมต่าง ๆ เช่นฝีหนองหรือต่อมน้ำเหลืองบวม
  • เปลือก ต้มกินลดเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้บ้วนปากแก้ปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน
  • ลำต้น ใช้ลดอาการอักเสบ และโรคระบบทางเดินอาหาร
  • ใบ คั้น ผสมน้ำผึ้งกินแก้ไข้ ลดน้ำมูกในเด็ก ใช้ประคบแผล ส้นเท้าแตก และสิว ใบสดเคี้ยวแก้ปวดฟัน
  • ดอก ต้มกินแก้โรคไมเกรน ฝีหนอง อาการบวมน้ำ อาการไอเป็นเลือด ปัสสาวะและท่ออสุจิขัด ทำให้เชื้ออสุจิลดจำนวนช่วยในการคุมกำเนิด
  • ทั้งต้นรวมราก ต้มกินมีสรรพคุณขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงตับ บรรเทาอาการดีซ่าน แก้โรคท้องมาน บรรเทาอาการแขนขาอ่อนแรง ไขข้ออักเสบ ให้อัณฑะขยายตัว ลดอาการปวดร้าวจากการกดทับรากประสาทไขสันหลัง ผสมน้ำผึ้งกินแก้หอบหืด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.dnp.go.th/botany/Herbarium/Archives/PlantFile/อังกาบหนู.
  2. html https://www.disthai.com/17028803/อังกาบหนู
  3. พนิดา ใหญ่ธรรมสาร.อังกาบหนู....รักษามะเร็งได้จริงหรือ? .สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  4. นันท่วัน บุณยะประภัศร อรนุช โชคชัยเจริพร (บรรณาธิการ).สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (5).กรุงเทพฯ:บริษัทประชาชน จำกัด.2543:508 หน้า
  5. อังกาบหนู สมุนไพรไม้ประดับ.คอลัมน์ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ.นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์.ฉบับวันที่ 9-15 มีนาคม 2561 .ฉบับที่ 1960 . ปีที่ 38.
  6. ปิยวรรณ จิตเจริญรุ่งเรือง ,ประนอม ขาวเมฆ,องค์ประกอบทางเคมีของใบอังกาบหนู.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2 .วันที่ 21 มีนาคม 2557 ณ.โรงแรกมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ.หน้า 98-101