ผักเสี้ยน
  ชื่อสามัญภาษาไทยผักเสี้ยน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษWild spider flower, Spider weed, Spider Flower
  ชื่อวิทยาศาสตร์Cleome gynandra L.
  ชื่อพ้องGynandropsis pentaphylla (L.) DC.
  ชื่อวงศ์Cleomaceae
  ชื่อท้องถิ่นผักเสี้ยนขาว ผักเสี้ยนไทย ผักเสี้ยนบ้าน ผักเสี้ยนตัวผู้ (ภาคกลาง), ส้มเสี้ยน ผักส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ)
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยบำรุงเลือดลม บำรุงร่างกายและให้พลังงาน (ผักเสี้ยนดอง)
  • ผักเสี้ยนมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านมะเร็ง มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อ (ผักเสี้ยนดอง)
  • รากผักเสี้ยนใช้ต้มรับประทานเป็นยาแก้ไข้ (ราก)
  • ทั้งต้นช่วยแก้ไข้ตรีโทษ (ทั้งต้น)
  • ผักเสี้ยนช่วยแก้อาการปวดหู (ใบ)
  • รากใช้ต้มรับประทานเป็นยารักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ราก)
  • เมล็ดผักเสี้ยนช่วยขับเสมหะ (เมล็ด)
  • ส่วนใบช่วยบำรุงเสมหะให้เป็นปกติ (ใบ)
  • รากผักเสี้ยนช่วยแก้ลมอันเป็นพิษ (ราก)
  • ทั้งต้น (ใบ ดอก ต้น เมล็ด ราก) มีรสร้อน ช่วยแก้อาการปวดท้อง ลงท้อง (ทั้งต้น)
  • เมล็ดผักเสี้ยนช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เมล็ด)
  • ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (ใบ)
  • ช่วยแก้เริม (ใบ)
  • ทั้งต้น นำมาต้มหรือดองรับประทาน มีสรรพคุณช่วยขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)
  • ช่วยแก้ประจำเดือนเสียของสตรี (ทั้งต้น)
  • ดอกช่วยแก้เลือดสตรีอันอยู่ในเรือนไฟ (ดอก)
  • ใบผักเสี้ยนช่วยแก้งูสวัดได้ (ใบ)
  • ทั้งต้นหรือใบใช้ตำพอกรักษาฝี แก้พิษฝี และบรรเทาอาการระคายเคือง (ใบ, ทั้งต้น)
  • ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แมงป่องกัด หรืองูกัด (ทั้งต้น)
  •  แต่ไม่ควรพอกนานเพราะจะทำให้ผิวไหม้ได้
  • ทั้งต้นนำมาตำแล้วพอก ช่วยให้เลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง และช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้ (ทั้งต้น)
  • ใบนำมาตำหรือทา ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (ใบ)
  • ต้นและใบใช้ตำ นำมาพอกแก้อาการอักเสบ ช้ำบวมได้ (ใบ, ต้น)
  • ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการเจ็บหลังได้ (ทั้งต้น)
  • ต้นและใบนำมาตำ ใช้พอกฝีให้แตกและไม่เป็นหนองได้ (ใบ, ต้น)
  • ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการเมาเหล้า เมาสุรา (ทั้งต้น)


 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: web3.dnp.go.th.  [7 ต.ค. 2013].
  • รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th.  [7 ต.ค. 2013].
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 244.  (เดชา ศิริภัทร).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [7 ต.ค. 2013].
  • คมชัดลึกออนไลน์.  (ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net.  [7 ต.ค. 2013].
  • สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com.  [7 ต.ค. 2013].
  • https://medthai.com/ผักเสี้ยน/