ทองหลาง
  ชื่อสามัญภาษาไทยทองหลาง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษIndian Coral Tree, Variegated coral tree
  ชื่อวิทยาศาสตร์Erythrina variegate Linn.
  ชื่อวงศ์Leguminosae
  ชื่อท้องถิ่นทองบ้าน, ทองเผือก (เหนือ), ทองหลางด่าน (กทม.)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ทองหลางเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมเทามีลายสีขาวคล้ายร่องแตกตามแนวยาว ลำต้นและกิ่งมีหนามสั้นสีดำ 

ใบ : ประกอบมี 3 ใบย่อย เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 5-6 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบอ่อนมีขนประปราย ใบแก่เกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมันมีลายเหลืองตามแนวเส้นใบแผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น ก้านใบยาวถึง 20 ซม. 

ดอก : สีแสดแดงหรือสีขาว ดอกรูปถั่ว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่บริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 17-47 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 7-8 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันปลายแยก 2 แฉก ไม่สมมาตรกัน กลีบดอกสีแดงหรือส้มมี 5 กลีบ เรียงซ้อนทับกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ 

ผล : เป็นฝักแห้งแตก รูปทรงกระบอก สีน้ำตาลเข้ม ลักษณะเป็นข้อต่อกัน กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 15-45 ซม. เมล็ด รูปไข่สีน้ำตาลแดง

สรรพคุณทั่วไป

  • ยอดอ่อนและใบช่วยแก้ลมพิษ แก้ตาแดง และช่วยขับเสมหะ 
  • หรือใช้ตำผสมกับข้าวสาร ใช้พอกฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน 
  • สามารถนำมาประคบกระหม่อมเด็กเพื่อช่วยลดไข้ได้

 
สรรพคุณเฉพาะส่วนของสมุนไพร
 
  ใบหยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะ
  เปลือกหยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะ
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • แพทย์ชนมักใช้เปลือกของทองหลางไปต้มเป็นยาตัดบมทั้งปวง 
  • ส่วนใบนำไปคั่วให้เกรียมเป็นยาตัดพิษ 
  • ใบแก่สดๆ ใช้รมควันได้ให้ตายนึ่งแล้วชุบน้ำสุราสำหรับปิดแผล และเนื้อร้ายที่ลามบวมใกล้แตก 
  • ใบทองหลางที่ปิดจะดูดหนองให้ไหลออกจนยุบแห้งดี 
  • น้ำคั้นจากใยทองหลางสามารถนำมาใช้หยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ดับพิษได้ด้วยอีกต่างหาก

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/51/Plant/plant_32/index_32.htm