โสก
  ชื่อสามัญภาษาไทยโสก
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษAsoka, Asoke tree, Saraca
  ชื่อวิทยาศาสตร์Saraca indica L.
  ชื่อพ้องSaraca bijuga Prain
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นโสกน้ำ (สุราษฎร์ธานี), ชุมแสงน้ำ (ยะลา), ส้มสุก (ภาคเหนือ), ตะโคลีเต๊าะ (มลายู-ปัตตานี), กาแปะห์ไอย์ (มลายู-ยะลา), อโศก, โศก, อโศกน้ำ, อโศกวัด
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอกแคบ กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 15 – 20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน

    ดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อละ 3 – 6 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3 – 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมยาว 3 – 4 มิลลิเมตร กลีบดอก 6 กลีบรูปดาว สีเขียวหรือสีครีม ออกดอกเดือนมีนาคม
    
    ผลเป็นพวงขนาดเล็กรูปไข่ เมื่อแก่เป็นสีดำ

สรรพคุณทั่วไป

  • ดอกโสกมีรสหอมเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ
  • แพทย์พื้นบ้านในอินเดียจะนิยมใช้เปลือกและราก นำมาปรุงเป็นยาบำรุงโลหิต
  • ดอกใช้เป็นยาแก้ไอ ดอกใช้กินเป็นยาขับเสมหะ

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “โสก”. หน้า 186.
  2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “โสก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [06 ต.ค. 2014].
  3. หนังสือ Flora of Thailand Volume 4 Part 1. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “โสกน้ำ”. หน้า 97.
  4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โสกน้ำ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [06 ต.ค. 2014].
  5. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 310 คอลัมน์ : ต้นไม้ใบหญ้า. (เดชา ศิริภัทร). “โศก : สัญลักษณ์ของความรักจากตะวันออก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [06 ต.ค. 2014].
  6. ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “อโศกน้ำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [06 ต.ค. 2014].