พญามือเหล็ก
  ชื่อสามัญภาษาไทยพญามือเหล็ก
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษAlpinia sandrerae
  ชื่อวิทยาศาสตร์Strychnos roborans A.W. Hill., S. lucide R. Br.
  ชื่อวงศ์Strtchnaceae
  ชื่อท้องถิ่นพญามูลเหล็ก, ย่ามือเหล็ก (กระบี่), กะพังอาด, เสี้ยวดูก (เหนือ)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พญามือเหล็กเป็นพรรณไม้ยืนต้นแกมเถาขนาดกลาง ลำต้นจะมีความสูงมาก 

ใบ จะออกตรงข้ามกัน แต่ไม่มีใบเลี้ยง ลักษณะใบจะโตเป็นรูปไข่ ผิวใบเป็นมันมีความยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร คล้ายใบแสลงใจ 

ดอก จะออกเป็นช่อสวยงามมาก 

ผล จะมีลักษณะกลมโตเท่าผลส้มเกลี้ยง เป็นสีเหลืออ่อนแกมสีน้ำตาล ส่วนเมล็ดนั้นจะมีลักษณะคล้ายก้อนกรวดโต ประมาณ 2.5 เซนติเมตร และมีขนสีน้ำเงินปกคลุม เมล็ดจะมีรสขมมาก และถ้าแก่จะแข็งมาก ผลหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 12-24 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบ รสขมเมา กัดเสมหะในลำคอ ตัดไข้จับ ดับพิษไข้ แก้กระษัยเลือด แก้ไข้จับสั่น ฝนทาศีรษะเด็ก แก้ค้น แก้รังแค แก้ไข้ที่มีพิษร้อนให้ ละเมอเพ้อพก 
  • ราก รสขมเมา แก้ไข้เรื้อรัง 
  • แก่น รสขมเมา แก้พิษดีและโลหิต แก้ไข้จับ แก้ไข้ร้อน

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • แพทย์แผนโบราณใช้ว่านชนิดนี้รักษาอาการปวดเมื่อย ปวดบวมตามข้อ มือตายเท้าตาย อาการอัมพาต โดยนำหัวว่านสดมาโขลกให้ละเอียดผสมกับสุราขาว 40 ดีกรี พอกบริเวณที่ปวด มีความเชื่อว่าขณะทำการรักษาหากเสกคาถา พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา ร่วมด้วยจนกว่าการรักษาจะแล้วเสร็จจะทำให้การรักษาในครั้งนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://samunpai2525.blogspot.com/2011/03/blog-post_14.html