การเวก
  ชื่อสามัญภาษาไทยการเวก
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษArtabotrys siamensis, Climbingllang-llang , Gara-Wek
  ชื่อวิทยาศาสตร์Artabotrys siamensis Mig.
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่น(ภาคกลาง และทั่วไป) การเวก, กระดังงาจีน (ภาคเหนือ), สะบันงาจีน, สะบันงาเครือ (ภาคใต้) กระดังงาเถา (ภาคตะวันตก), กระดังงาป่า, หนามควายนอน
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: การเวกนั้นเป็นไม้ประเภทไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง มีขนาดใหญ่ ตามลำต้นนั้นจะมีมือเกาะรูปร่างตะขอยื่นออกมาจากลำต้น กิ่งก้านของการเวกนั้นมีขนทอดเลื้อยออกไปไกลได้มากประมาณ 5-10 เมตร ยอดอ่อนของการเวกนั้นจะมีสีเขียวอ่อน ในขณะเดียวกันหากเถาแก่จะมีสีน้ำตาล

ใบ: ต้นการเวกนั้นจะมีพุ่มใบที่หนาแน่นมาก ใบการเวกเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันตามข้อของต้น ลักษณะของใบการเวกนั้นจะมีรูปไข่กลับ กว้างเพียง 4-5 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ขอบใบขนาน ส่วนโคนของใบมนรีและส่วนปลายของใบจะแหลม แผ่นใบการเวกนั้นจะค่อนข้างบางและมีความเหนียว ผิวของใบมีสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบนั้นจะมีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง

ดอก: การเวกจะออกดอกเป็นประเภทดอกเดี่ยว บ้างก็ออกเป็นกระจุก มี 1-3 ดอก ตัวดอกนั้นจะผลิบานตามซอกกลีบเลี้ยงของต้น กลีบดอกการเวกจะมีจำนวนทั้งหมด 6 กลีบ ไม่เชื่อมติดกัน ส่วนปลายของกลีบนั้นจะกระดกขึ้น กลีบมีรูปทรงรีปลายแหลม กลีบดอกจะเรียงสลับกันจำนวน 2 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยกลีบดอกจำนวน 3 กลีบ ในส่วนกลีบดอกชั้นนอกนั้นจะมีขนาดเล็กกว่ากลีบดอกชั้นใน เมื่อยามที่ผลิบานเต็มที่ กลีบดอกการเวกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ กลิ่นและรูปร่างคล้ายกับดอกกระดังงา เพียงแค่ดอกการเวกนั้นมีขนาดเล็กกว่า ภายในของดอกการเวกจะประกอบไปด้วยเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก

ผล: การเวกจะออกผลเป็นกลุ่มประมาณ 4-20 ผล รูปทรงของผมนั้นจะค่างรีและป้อม ผลอ่อนของการเวกจะมีสีเขียวสด แต่หากเป็นผลแก่ จะมีสีเหลือง สีแดง และสีดำ โดยภายในผลจะประกอบไปด้วยเมล็ดจำนวน 1-2 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ดอก: เนื่องจากดอกการเวกนั้นมีกลิ่นหอมมาก จึงนิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เพื่อใช้สูดดม แก้อาการวิงเวียนศีรษะ นอกจากนี้หากนำดอกมาต้มแล้วดื่มจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและบำรุงโลหิต ขับปัสสาวะ
  • ลำต้น: สามารถนำลำต้นมาตากแห้งและบดให้ละเอียด สามารถช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี
  • ราก: ใช้รักษาโรคมาลาเรียและช่วยฟื้นฟูร่างกายแก่หญิงสาวที่พึ่งให้กำเนิดบุตร
  • ใบ: สามารถใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค หรือ ใช้สำหรับการถ่ายพยาธิที่อยู่ภายในร่างกาย
  • ผล: ใช้รักษาวัณโรค

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. การเวก มงคลนามแห่งความหอมและความไพเราะ
  2. นิตยสารหมอชาวบ้าน ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. https://www.samunpri.com/การเวก