ไมยราบ
  ชื่อสามัญภาษาไทยไมยราบ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSensitive plant, Sleeping grass, Shameplant
  ชื่อวิทยาศาสตร์Mimosa pudica L.
  ชื่อพ้องMimosa hispidula Kunth, Mimosa pudica var. Pudica
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นกระทืบยอด หนามหญ้าราบ (จันทบุรี), หงับพระมาย (ชุมพร), ก้านของ (นครศรีธรรมราช), ระงับ (ภาคกลาง), หญ้าปันยอด หญ้าจิยอบ (ภาคเหนือ), กะหงับ ด้านของหงับพระพาย (ภาคใต้), หญ้าปันยอบ กะเสดโคก หญ้างับ
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ต้นไมยราบ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาโดยกรมทางหลวงเพื่อนำมาใช้คลุมหน้าดิน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มักแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งจะสูงถึง 1 เมตร ต้นมีน้ำตาลแดง มีขนาดเล็ก และมีขนหยาบ ๆ ปกคลุมที่ลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ รวมไปถึงช่อดอก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

    ใบไมยราบ จัดเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมกับก้านใบ มีความยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมี 1-2 ใบ มีความยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร โดยใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 12-25 คู่ ลักษณะคล้ายรูปขอบขนานหรือคล้าย ๆ รูปเคียวยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร

    ออกดอกเป็นช่อกลมสีชมพู เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ ออกที่บริเวณซอกใบ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก ไร้ก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็กมาก ประมาณ 0.1 มิลลิเมตร กลีบดอกจะคล้ายกับรูประฆังแคบ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกจะมนกลม มีความยาวประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน และมีรังไข่ยาวประมาณ 0.5 มิลลิกรัม

    ผลไมยราบ มีลักษณะเป็นฝักแห้ง แบน ยาวเรียว ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ตรง และยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล ส่วนเมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดแบนเป็นสันนูนตรงกลาง หนึ่งผลมีเมล็ดประมาณ 2-5 เมล็ด ผลหักตามรอยคอด

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ต้นแห้งนำมาต้มกับน้ำกินช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้
  • ช่วยขับโลหิต
  • ช่วยแก้เด็กเป็นตานขโมย
  • ช่วยแก้ตานซางในเด็กเล็ก
  • ช่วยในการระงับประสาท
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  • ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
  • ช่วยทำให้สงบประสาท
  • ช่วยทำให้ตาสว่าง
  • ช่วยแก้อาการตาบวม ตาเจ็บ
  • ช่วยแก้ไข้ออกหัด
  • ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร
  • ช่วยแก้อาการบิด ท้องร่วง
  • ช่วยแก้กระเพาะอาหารอักเสบ
  • ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ
  • ช่วยแก้ปัญหาระบบย่อยอาหารของเด็กไม่ดีได้
  • ช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยแก้นิ่ว ขับนิ่ว
  • ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้ไส้เลื่อน ด้วยการนำทุกส่วนของต้นมาต้มกิน
  • ช่วยขับระดูขาว
  • ช่วยรักษาโรคปวดเวลามีประจำเดือน
  • ช่วยแก้ไตพิการ
  • ช่วยแก้เริม
  • ช่วยแก้อาการงูสวัด
  • ช่วยแก้ไฟลามทุ่ง
  • ช่วยรักษาโรคพุพอง
  • ช่วยรักษาแผลเรื้อรังต่าง ๆ
  • ช่วยแก้อาการผื่นคันตามตัว
  • ช่วยแก้แผลฝี
  • ช่วยรักษาแผลฝีหนอง
  • ช่วยแก้อาการปวดข้อได้
  • ช่วยแก้อาการบวมตามเนื้อตามตัว
  • ช่วยแก้อาการปวดหลังปวดเอว หรือจะนำมาผสมกับดอกคำฝอย ใบเตยหอม ใบหม่อน ทองพันชั่ง โดยใช้ไมยราบเป็นตัวยาหลักในการต้มดื่มเพื่อสุขภาพและช่วยแก้อาการปวดหลังได้
  • ใบไมยราบนำมาตำพอกช่วยแก้อาการปวดบวมได้
  • ช่วยแก้หัด
  • ช่วยขับน้ำนม

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สารานุกรมพืชในประเทศไทย (The Encyclopedia of Plants in Thailand)
  2. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ (เต็ม สมิตินันทน์)
  3. เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  4. เว็บไซต์มูลนิธิสุขภาพไทย
  5. เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) www.gotoknow.org (คุณอานนท์ ภาคมาลี)
  6. www.jamrat.net (จำรัส เซ็นนิล)