ตันหยง
  ชื่อสามัญภาษาไทยตันหยง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษDivi-divi
  ชื่อวิทยาศาสตร์Caesalpinia coriaria (Jacq.) Willd.
  ชื่อวงศ์Leguminosae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นหยงเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-8 ม. แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มต่ำ แผ่กว้างได้ 4-6 ม. ลำต้นและกิ่งก้านจะคดเคี้ยว เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องตามยาว 

ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน 13-20 คู่ มีขนาดเล็กมาก รูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมนตัดและเบี้ยว ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบสั้น ยาว 0.3-0.5 ซม. 

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอบใบและปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5-15 ซม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมแรง เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.6 ซม. 

ผล เป็นฝักแห้งไม่แตก บิดงอ กว้าง 1.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายฝักมีติ่งแหลม เมื่อฝักแก่เป็นสีดำ เมล็ด รูปรี แบน

สรรพคุณทั่วไป

ฝัก มีสารฝาด รักษาแผลเปื่อย นำมาแช่น้ำใช้ล้างบาดแผล มีสารแทนนิน ใช้ฟอกหนัง
 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ. 2546. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (86) 
  2. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า (294) 
  3. http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=108" 
  4. http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/old-fragrant/caesalpinia.html