|
ชื่อสามัญภาษาไทย | เล็บเหยี่ยว |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Jackal Jujube, Small-fruited Jujube, Wild Jujube |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ziziphus oenopolia (L.) Mill. |
ชื่อพ้อง | Rhamnus oenopolia L. |
ชื่อวงศ์ | Annonaceae |
ชื่อท้องถิ่น | ตาฉู่แม โลชูมี (เชียงใหม่), เล็บแมว ยับเยี่ยว (นครราชสีมา), แสงคำ (นครศรีธรรมราช), สั่งคัน (สุราษฎร์ธานี, ระนอง), เล็บหยิ่ว ยับหยิ่ว (คลองหอยโข่ง-สงขลา), มะตันขอ หมากหนาม หนามเล็บเหยี่ยว (ภาคเหนือ), บักเล็บแมว (ภาคอีสาน), พุทราขอ เล็ดเหยี่ยว เล็บเหยี่ยว (ภาคกลาง), ยับยิ้ว (ภาคใต้) |
เล็บเหยี่ยวเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อแข็ง ยาว 3-10 เมตร เถาและกิ่งมีหนามสั้นแหลมโค้งตามลำต้น และกิ่งก้าน เปลือกเถาเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย สีดำเทา กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล เปลือกในสีแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปใบรี กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 2-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบอ่อนทั้งสองด้านมีขนนุ่มสั้นๆ ผิวใบด้านบนเรียบ หรือมีขนเล็กน้อย ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มจำนวนมาก เส้นใบ 3 เส้น ออกจากฐานใบไปปลายใบ ก้านใบยาว 2-8 มิลลิเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบเป็นช่อกระจุก ขนาดเล็ก ดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกยาว 4-6 มิลลิเมตร ก้านช่อดอกยาว 0.5-1.0 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย ใบประดับช่อดอก 1 อัน ยาว 2-3 มิลลิเมตร มีขนกระจายทั่วไป ดอกจำนวน 5-11 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1.0-2.5 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปช้อน ปลายกลม ยาว 0.8-1 มิลลิเมตร กว้าง 0.2-0.5 มิลลิเมตร สีเขียว หรือสีเขียวอมเหลือง ออกสลับกับกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ มี 5 อัน สีเขียวอมเหลือง ก้านชูเกสรแบน ยาว 0.5-0.8 มิลลิเมตร ติดที่ฐานของกลีบดอก อับเรณูรูปสามเหลี่ยม ยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ รังไข่เกิดจาก 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 1 ช่อง และ 1 ออวุล ก้านและยอดเกสรเพศเมียคล้ายรูปขวด ยาว 0.5-1.0 มิลลิเมตร เกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง จานฐานดอกขนาด 1.5 มิลลิเมตร ผิวขรุขระ สีเหลือง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ หลอดกลีบกว้าง 0.5-1.0 มิลลิเมตร ยาว 1.5-2.0 มิลลิเมตร ปลายแฉกกว้าง 1 มิลลิเมตร ยาว 1.0-1.5 มิลลิเมตร สีเขียว หรือสีเขียวอมเหลือง ปลายกลีบด้านนอกมีขนเล็กน้อย ผลสดรูปทรงกลมหรือรูปไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวพอสุกเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ก้านผลยาว 3-5 มิลลิเมตร มีขนกระจายทั่วไป เมล็ดแข็งมี 1 เมล็ด รูปร่างค่อนข้างกลม กว้าง 5-8 มิลลิเมตร ยาว 6-9 มิลลิเมตร ปลายกลม พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าคืนสภาพ ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ติดผลเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ผลแก่มีรสเปรี้ยว รับประทานได้ | |
ตำรายาไทย
ประเทศอินเดีย
| |
ราก | ต้มดื่มขับระดูขาว แก้มดลูกพิการ |
เปลือก | ต้มดื่มขับระดูขาว แก้มดลูกพิการ |
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=279 |