มะขาม
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะขาม
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษtamarind
  ชื่อวิทยาศาสตร์Tamarindus indica Linn.
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นขาม (ภาคใต้), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะลูบ (โคราช) หมากแกง (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) , อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) , ส่าหม่อเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , ซึงกัก , ทงฮ้วยเฮียง (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 6-20 เมตร เปลือกต้นสีเทา ดำ มีริ้วรอยมาก แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่มีหนาม 

ใบเป็นใบประกอบ ปลายเป็นใบคู่ ใบยาว 8-11 ซ.ม. มีใบย่อย 14-40 ใบ ใบย่อยลักษณะใบยาวปลายมนกลม ยาว 1-2,4 ซ.ม. กว้าง 4.5-9 ม.ม. ปลายใบมน หรือบางทีก็เว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบทั้ง 2 ข้างเว้าเข้าไม่เท่ากัน ตัวใบเรียบไม่มีขน 

ดอกออกที่ปลายก้านหรือจากซอกใบ เป็นช่อบานจากโคนไปปลาย ดอกมีกลีบหุ้มดอกอ่อน 1 กลีบ สีแดง ขอบมีขนสั้นสีขาว เมื่อดอกบานจะหลุดร่วงไปกลีบเลี้ยงไปกลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ สีเหลืองปลายกลีบแหลมมีสีแดงเรื่อ ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีเหลืองมีลายเส้นกลีบดอกสีแดงเข้ม ริมกลีบดอกมีรอยย่น ๆ กลีบดอก 2 กลีบล่างจะฝ่อ เล็กหายไป มีเกสรตัวผู้ 3 อัน ก้านเกสรติดกันจากส่วนกลางลงมา รังไข่มี 1 อัน เป็นฝักยาว ส่วนปลาย เป็นก้านเกสรตัวเมีย มีเมล็ดมาก ฝักทรงกระบอก แบนเล็กน้อย ยาว 3-14 ซ.ม. กว้าง 2 ซ.ม. เปลือกนอกสีเทา ภายในมีเมล็ด 3-10 เมล็ด เมล็ดมีผิวนอก สีน้ำตาลแดงเรียบเป็นมัน ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ฝักแก่ในราวเดือนธันวาคม

สรรพคุณทั่วไป

  • แก้ร้อนในฤดูร้อน
  • แก้อาการเบื่ออาหาร
  • ลดความดันโลหิต
  • ใช้แก้อาหารไม่ย่อยและปัสสาวะลำบาก
  • ขับพยาธิ
  • แก้เคล็ดขัดยอก, ฝี, ตาเจ็บ และแผลหิด
  • เป็นยากลั้วคอ
  • เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้
  • ช่วยรักษาหวัด
  • ช่วยในการรักษาโรคบิด 
  • ช่วยฟอกโลหิต
  • เป็นยาบำรุงและแก้ไข้
  • แก้ท้องเดิน 
  • ใช้สมานแผล
  • แก้เลือดออกตามไรฟัน
  • แก้กระหายน้ำ ทำให้สดชื่น
  • ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
  • เป็นยาฆ่าเชื้อ
  • แก้พิษสุรา
  • รักษาโรคเริม
  • รักษาโรคงูสวัด

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. สมพล ประคองพันธ์.วันชัย สุทธนันท์ .การใช้ดพลีแซคคาไรต์จากเมล็ดมะขามในยาอิมัลชั่นและยาแขวนตะกอน.วารสารเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 1988:53
  2. ภัคสิริ สินไชยกิจ,ไมตรี สุทธิจิตต์.คุณสมบัติชีวเคมีและการประยุกต์ใช้ของเมล็ดมะขาม,บทความปริทัศน์.วารสารนเรศวรพะเยา.ปีที่4.ฉบับที่2.พฤษภาคม-สิงหาคม.2554.
  3. กองวิจัยทางการแพทย์. สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1.  กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2526.
  4. เดชา ศิริภัทร.มะขาม.ต้นไม้ประจำครัวไทย.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่163.พฤศจิกายน.2535
  5. Ahmad I, Mehmood Z, Mohammad F.  Screening of some Indian medicinal plants for their antimicrobial properties.  J Ethnopharmacol 1998;62:183-93.
  6. บวร เอี่ยมสมบูรณ์.  ดงไม้.  กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2518.
  7. มะขาม.สมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  8. ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ.มะขามและผักคราดหัวแหวน.คอลัมน์อื่นๆ นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่15.กรกฎาคม.2523
  9. ก. กุลฑล.  ยาพื้นบ้าน.  กรุงเทพฯ:ปรีชาการพิมพ์, 2524.