แจง
  ชื่อสามัญภาษาไทยแจง
  ชื่อที่เกี่ยวข้องแกง แก้ง แจ้ง
  ชื่อวิทยาศาสตร์Maerua siamensis (Kurz) Pax.
  ชื่อพ้องNiebuhria siamensis Kurz.
  ชื่อวงศ์Asclepiadaceae
  ชื่อท้องถิ่นแกง (นครราชสีมา)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    แจงเป็นไม้พุ่ม ขนาดใหญ่ หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแตกกิ่งแผ่ออกเป็นรูปร่ม หนาทึบ เปลือกนอกสีเขียวเข้มจนเกือบดำ เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ มีจุดสีขาวกระจายทั่วลำต้น เปลือกใน เนื้อไม้ มีเกล็ดหุ้มยอด

    ลักษณะใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 3 ใบย่อย เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปแถบ กว้าง 1 – 3 เซนติเมตร ยาว 2 – 12 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบกลม เว้าตื้น หรือมีติ่ง

    ลักษณะดอก ช่อเชิงหลั่น หรือช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ หรือปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาวอมเขียว เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 กลีบ รูปไข่ กว้าง 2 – 3 มิลลิเมตร ยาว 1.5 – 5 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบมีขนคล้ายเส้นไหม ไม่มีกลีบดอก ลักษณะผล ผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปรีกว้างเกือบกลม กว้าง 1.3 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 2 – 2.5 เซนติเมตร ผิวขรุขระ

    ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมล็ดรูปไต 2 – 3 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
  • ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ทำให้กระปรี้กระเปร่าและแข็งแรง
  • รากใช้เป็นยาแก้กษัยหรืออาการป่วยที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายซูบผอม เสื่อมโทรม ปวดเมื่อย โลหิตจาง
  • เปลือกต้น ราก และใบแจงนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ดีซ่าน บ้างว่าใช้ทั้งต้นต้มดื่มเป็นยาแก้ดีซ่าน
  • ใช้ยอดและใบแจงเป็นยาแก้ไข้ บ้างว่าใช้แก่นเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาต้มแก้ไข้จับสั่น ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้เปลือกต้น ราก และใบนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
  • ยอดอ่อนผสมเกลือใช้รักษาโรครำมะนาด ช่วยแก้อาการหน้ามืดตาฟาง ด้วยการใช้เปลือกต้น ราก และใบ นำมาต้มกับน้ำดื่ม

 
สรรพคุณเฉพาะส่วนของสมุนไพร
 
  ต้นต้มดื่ม แก้ดีซ่าน
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ราก ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปัสสาวะพิการ แก้กษัย ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ นำมาทำเป็นไอน้ำอบแก้ขาบวม
  • เปลือก ราก ใบ ต้มรับประทานแก้ดีซ่าน หน้ามืด ตาฟาง ไข้จับสั่น
  • ใบและยอด ตำใช้สีฟันแก้แมงกินฟัน ทำให้ฟันทน แก้ไข้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/53/group04/udom/udom.html
  2. https://www.คลังสมุนไพร.com/16964018/สมุนไพรแจง