หญ้าคา
  ชื่อสามัญภาษาไทยหญ้าคา
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษAlang-alang, Blady grass (หญ้าใบมีด), Cogongrass, Japanese bloodgrass, Kunai grass, Lalang, Thatch grass
  ชื่อวิทยาศาสตร์Imperata cylindrica (L.) Raeusch.
  ชื่อวงศ์Poaceae
  ชื่อท้องถิ่นหญ้าหลวง หญ้าคา (ทั่วไป), สาแล (มลายู-ยะลา-ตานี), กะหี่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), บร่อง (ปะหล่อง), ทรูล (ลั้วะ), ลาลาง ลาแล (มะลายู), แปะเม่ากึง เตี่ยมเซากึง (จีน-แต้จิ๋ว), คา แฝกคา ลาแล เก้อฮี
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หญ้าคา เป็นลักษณะไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีเหง้าใต้ดินกลมสีขาว แข็ง และเป็นไหลยาวมาก ที่ข้อมีขน ลำต้นที่ตั้งตรงอยู่เหนือดินสูงประมาณ 30 - 180 เซนติเมตร แตกเป็นกอ 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นกระจุกอยู่โคนต้น ลักษณะใบรูปใบหอกเล็กเรียวยาวและแคบ ริมขอบใบคม กาบใบโอบหุ้มลำต้น เรียบขอบมีขนเป็นกระจุกอยู่ระหว่างรอยต่อของตัวใบและกาบใบ ขนมีมากตามข้อ เส้นกลางใบสีขาว ใบอ่อนมีปลอกแข็งและแหลม 

ดอก ออกดอกเป็นช่อหรือเป็นพู่ ขึ้นอยู่บริเวณกลางกอที่ปลายยอดแตกแขนงสั้นๆ ในแนวตั้ง ดอกมีขนาดเล็กเรียงสลับรอบๆ แกนกลางช่อมีลักษณะคล้ายกับหางกระรอก รูปทรงกระบอก ดอกมีสีขาวอมเหลืองหรือสีม่วง

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบ รสจืด ต้มอาบแก้ลมพิษ ผื่นคัน แก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง 
  • ดอกแก่ รสจืด ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด แก้เลือดกำเดาไหล ห้ามเลือด โขลกพอกแผลอักเสบบวม ฝีมีหนอง 
  • ทั้งต้น ใช้ลำต้นสดหรือแห้ง ปรุงเป็นยาแก้โรคไต แก้โรคมะเร็งคอและแก้ฝีประคำร้อย 
  • เหง้า ใช้รักษาโรคเอดส์ 
  • ราก รสจืดเย็น ขับปัสสาวะ แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ปัสสาวะแดงขุ่นข้น บำรุงไต แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง แก้บวมน้ำ เบื่ออาหาร ขับระดูขาว แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ข้อมูลพืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 18 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “หญ้าคา“. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). อ้างอิงใน: หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรจีน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [5 ม.ค. 2014]. 
  2. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. พืชสมุนไพร. “หญ้าคา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [5 ม.ค. 2014]. 
  3. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “หญ้าคา“. (ไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [5 ม.ค. 2014]. 
  4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Lalang“. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [5 ม.ค. 2014]. 
  5. สื่อการสอนครู โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม. “หญ้าคา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: tc.mengrai.ac.th. [5 ม.ค. 2014]. 
  6. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี). “หญ้าคา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.stou.ac.th. [5 ม.ค. 2014]. 
  7. ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 8212 วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556, คอลัมน์: รูปไปโม้ด. (น้าชาติประชา ชื่น). “หญ้าคา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.khaosod.co.th. [5 ม.ค. 2014].