|
ชื่อสามัญภาษาไทย | พลับพลา |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Microcos tomentosa Sm. |
ชื่อพ้อง | Grewia affinis Hassk., G. blumei Hassk., G. cumingiana Turcz., G. paniculata |
ชื่อวงศ์ | Strtchnaceae |
ชื่อท้องถิ่น | สากกะเบือละว้า (สุโขทัย), กะปกกะปู (พิษณุโลก), หมากหอม (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ), หลาย (แม่ฮ่องสอน), คอมขน(ชัยภูมิ), มลาย (ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด), น้ำลายควาย (ใต้), พลา (ยะลา,ปัตตานี, ระนอง), พลาขาว (ชุมพร), พลาลาย (ตรัง), ขี้เถา, คอมส้ม, คอม, เกลี้ยง, ข้าวจี่, ไม้ลาย, ม้าลาย |
พลับพลาเป็นไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา แตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ เปลือกในสีชมพู มีเส้นใยเรียงตัวเป็นชั้น กิ่งอ่อนและก้านใบ มีขนรูปดาวหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน รูปวงรีแกมไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 3-10 ซม. ยาว 6.5-19 ซม. ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวหม่น ปลายแหลม โคนสอบมน หรือกลม ขอบหยักฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบที่ปลายใบส่วนกลางและโคนใบ ขอบเรียบ ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนรูปดาว ทั้งสองด้าน ด้านล่างมีขนหนาแน่นกว่า เส้นแขนงใบ ข้างละ 4-9 เส้น มี 3 เส้น ออกจากโคนใบ เส้นใบย่อยคล้ายขั้นบันได เห็นชัดเจนที่ด้านล่าง ก้านใบยาว 6-12 มม. มีขนหนาแน่น ดอกช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ซอกใบ หรือปลายกิ่ง ยาว 3-15 ซม. ดอกตูมกลม ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง ก้านและแกนช่อดอก มีขนหนาแน่น ใบประดับรูปแถบ หรือรูปใบหอก ยาวได้ ถึง 1 ซม. มีขนหนาแน่น ก้านดอก ยาว 6-8 มม. มีขน เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ รูปช้อน กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 6-7 มม. มีขนทั้งสองด้าน กลีบดอก 5 กลีบ แยกจากกัน เป็นอิสระ รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 0.5-1.5 มม. ยาว 1.5-3 มม. มีขนสั้น ๆ ทั้งสองด้าน โคนกลีบด้านใน มีต่อมรูปรี เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณู โคนมีขน ปลายเกลี้ยง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกลม กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 2 มม. มีขนหนาแน่นมี 2-4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ผลรูปทรงกลมแกมไข่กลับ ผลผนังชั้นในแข็ง กว้าง 0.6-1 ซม. ยาว1-1.2 ซม. ผนังผลคล้ายแผ่นหนัง มีขน ผลแก่สีเขียว ผลสุกสีม่วงดำ เมล็ดแข็ง 1 เมล็ด ผลสุกรับประทานได้ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-300 เมตร ออกดอกและเป็นผล ระหว่าง เดือนเมษายนถึงตุลาคม | |
ตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้
| |
|