ดาวกระจาย
  ชื่อสามัญภาษาไทยดาวกระจาย
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSpanish needle
  ชื่อวิทยาศาสตร์Bidens bipinnata L.
  ชื่อวงศ์Asteraceae
  ชื่อท้องถิ่นดอกกระจาย (ไทย), แหลมนกไส้ หญ้าแหลมนกไส้ ปืนนกไส้ (ภาคเหนือ), ปังกุกโคหน่วย (จีน), กุ่ยเจินเฉ่า ผอผอเจิน (จีนกลาง)
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยกระจายลม ฟอกโลหิต (ทั้งต้น)
  • ทั้งต้นดาวเรืองมีรสขม เป็นยาสุขุม ไม่มีพิษ โดยออกฤทธิ์ต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ และไต ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ทั้งต้น)
  •  ช่วยแก้ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ลำคอปวดบวม (ทั้งต้น)
  • ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดกระเพาะ (ทั้งต้น)
  • บ้างว่าใช้ใบและต้นนำมาต้มกับน้ำแล้วรินเอาแต่น้ำมาดื่มเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (ใบและต้น)
  • ใช้แก้บิด ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-70 กรัม นำมาต้มผสมกับน้ำตาลเล็กน้อยแล้วใช้รับประทาน (ต้น)
  • ช่วยแก้ฝีในลำไส้ (ทั้งต้น)
  • ช่วยแก้ตับอักเสบเฉียบพลัน ไตอักเสบ (ทั้งต้น)
  • ทั้งต้นเป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงูกัด โดยการนำต้นสดมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนกากที่เหลือให้นำมาพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น, ใบ และต้น)
  • ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาบาดแผล (ทั้งต้น, ใบ และต้น)
  • ใช้แก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-70 กรัม นำมาตำให้แหลก ต้มกับน้ำผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้รับประทานวันละ 1 ครั้ง (ต้น)


 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “ดาวกระจาย (Dao Kra Chai)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 112.
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “ดาวกระจาย”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 286-287.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “ดาวกระจาย”.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 220.
  • https://medthai.com/ดาวกระจาย/