เหงือกปลาหมอดอกขาว
  ชื่อสามัญภาษาไทยเหงือกปลาหมอดอกขาว
  ชื่อวิทยาศาสตร์Acanthus ebracteatus Vahl
  ชื่อวงศ์Acanthaceae
  ชื่อท้องถิ่นเหงือกปลาหมอ (กลาง), แก้มหมอ
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    เหงือกปลาหมอดอกขาวเป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงถึง 1.5 เมตร ลำต้นของพืชชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ถ้าเป็นต้นที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติหรือไม่มีการตัดออกไป จะมีลักษณะของลำต้นตั้งตรงพุ่งสูงขึ้น แต่ถ้ามีการตัดออกนำไปใช้ประโยชน์บ้างก็จะแตกเป็นพุ่มออกมาใหม่

    ใบ ใบจะมีลักษณะแข็ง มีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ผิวใบเรียบมันเนื้อใบเหนียวแข็ง

    ดอก ออกที่ปลายกิ่ง มีลักษณะของดอกเป็นดอกช่อตั้งตรง มีสีม่วง สีฟ้า หรือสีขาว มีกลีบรองดอก 4 กลีบ บริเวณของกลางดอกนั้นจะมีเกสรของตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่

    ผล เป็นฝักรูปไข่หรือทรงกระบอก

สรรพคุณทั่วไป

  • ราก : สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้หืด แก้อัมพาต บำรุงประสาท รักษามุตกิดระดูขาว
  • ต้น : รสเค็มกร่อย สรรพคุณแก้ปวดศีรษะ ช่วยถอนพิษ แก้ลมพิษ แก้พิษฝีดาษ ถ้าใช้ทาจะช่วยโรคเหน็บชาได้
  • ใบ : รสเค็มกร่อยร้อน สรรพคุณช่วยรักษาแผลอักเสบ แก้โรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดต่างๆ รักษากลากเกลื้อน ใช้นำคั้นจากใบนำมาทาศีรษะ จะช่วยในการบำรุงรากผม
  • ผล : รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยถอนพิษ ขับโลหิต
  • เมล็ด : รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับน้ำเหลืองที่เสีย ขับพยาธิ ปิดพอกฝี ใช้เหงือกปลาหมอ
  • ทั้ง 5 (ราก, ต้น, ใบ, ผล, เมล็ด) มีสรรพคุณช่วยแก้พิษฝี แก้มะเร็ง ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดลมปกติ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ตามธรรมชาติพบบริเวณริมคลองและป่าชายเลน ทุกส่วนของต้นมีสรรพคุณทางยา
  • ใบใช้รักษาโรคผิวหนังบางชนิด ขับเสมหะ
  • ในอินเดียใช้ยอดและใบอ่อนปิดแผลงูกัด
  • ทั้งต้นรักษามะเร็งและลดไข้
  • ส่วนรากต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้งูสวัดและแก้ไอ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://km.dmcr.go.th/c_1/s_350/d_6483
  2. https://www.baanlaesuan.com/plants/annual/137795.html