อินทนิลบก
  ชื่อสามัญภาษาไทยอินทนิลบก
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษQueen of Flowers
  ชื่อวิทยาศาสตร์Lagerstroemia macrocarpa Wall.
  ชื่อวงศ์Lythraceae
  ชื่อท้องถิ่นกากะเลา (อุบลราชธานี) กาเสลา (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จ้อล่อจะล่อ (ภาคเหนือ) ปะหน่าฮอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หูกวาง (กทม. เหนือ) อินทนิลบก (กลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อินทนินบกเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5 - 12 เมตร เป็นไม้ทรงพุ่ม เปลือก ต้นสีน้ำตาล ผิวเปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้น 

ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ ออกตรงข้ามกน ขอบใบเรียบ ปลายแหลม โคนมน ผิวใบ มัน และหนา สีเขียวเข้ม 

ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกตูมเป็นกอนกลมขนาด 1 เซนติเมตร มีหลายสี เช่น ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ชมพูอมม่วง ชมพูอ่อนเกือบขาว มีกลีบดอก 6 กลีบ รูปทรงดอกค่อนข้างกลม ขอบกลีบหยักยน แผ่นกลีบบางและนิ่ม โคนกลีบเรียว เป็นก้าน เชื่อมกบกลีบรองที่เป็นรูปถ้วย กลีบรอง ปลายแฉก 6 แฉก สีน้ำตาลแดง เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผานศูนย์กลาง 5 -10 เซนติเมตร 

ผล เป็นรูปกลมรี เปลือกแข็ง เมื่อผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดด้านในจำนวนมาก

สรรพคุณทั่วไป

  • เปลือกต้น รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย 
  • ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน 
  • เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ 
  • แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน 
  • ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.matichonweekly.com/column/article_47337
  2. http://forprod.forest.go.th/forprod/techtransfer/document/11.สาระพันธุ์ไม้/79.อินทนินบก.pdf