แมงลัก
  ชื่อสามัญภาษาไทยแมงลัก
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษHoary basil, Hairy basil, American basil, Lemon basil, Thai Lemon Basil.
  ชื่อวิทยาศาสตร์Ocimum basilicum L. f.var. citratum Back
  ชื่อพ้องOcimum africanum Lour. , Ocimum citriodorum,Ocimum americanum var. pilosum (Willd.) A.J.Paton, Ocimum citratum Rumph., Ocimum minimum sensu Burm.f.
  ชื่อวงศ์Labiatae
  ชื่อท้องถิ่นก้อมก้อขาว (ภาคเหนือ),อีตู่(ภาคอีสาน),มังลัก(ภาคกลาง),ผักอีตู่(ลาว),Ci Rohae Chi Kra Chi (กัมพูชา) , Cein Thue , Cay Hal-Khong (เวียดนาม)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     แมงลักจัดเป็นไม้ล้มลุกชนิดพืชปีเดียวหรือหลายปีขนาดเล็ก สูง 10-30 ซม. มีกลิ่นหอม ลำต้น กลมเป็นสี่เหลี่ยม ขนสั้น นุ่ม มีขนกางและหันลงยาวที่ข้อ

    ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีรูปใบหอก รูปในหอกแกมรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.5-2 ซม.ยาว 0.5 -3.5 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม หรือรูปมนขอบใบเรียบ หรือจักฟันเลื่อยแคบบ้าง มีต่อมแทรกขน ผิวด้านบนเกลี้ยง ผิวด้านล่างมีขนนุ่ม หรือมีขนทั้งสองด้าน มีขนยาวที่เส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 0.2-2 ซม. บางมีขนนุ่ม ซึ่งยาวกาง ข่อดอกโปร่งเป็นวงรอบได้ถึง 1 ซม.แกนมีขนนุ่มหนาแน่นหันลง ใบประดับรูปไข่ยาวได้ถึง 0.5 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลมโคนใบสอบเรียว ขอบใบมีขนยาวห่าง มีต่อมแทรกขน

    ก้านดอกย่อยโค้งลง ยาว 0.1-0.25 ซม. สั้นกว่าวงกลีบเลี้ยงที่ติดผล มีขนนุ่มกาง ละเอียดวงกลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 0.15-0.25 ซม. ระหว่างอยู่ในระยะออกดอกจะยาว 0.4-0.55 ซม.เมื่อติดผล กลีบปากหลังกลม หลอดดอกเป็นครีบขยายออกเล็กน้อยและคงอยู่เป็นติ่งแหลมอ่อนที่ปลาย กลีบปากหน้ามีสองแฉก รูปใบหอกหยักแหลมยาวมากกว่ากลีบปากหลัง หยักแหลมข้างรูปคล้ายสามเหลี่ยมกว้าง ปลายแหลม ขนาดเกือบเท่ากับกลีบปากหลัง คอหลอดดอกเป็นหลอด ดอกมีหรือไม่มีต่อมด้านนอก มีวงแหวนของขนอุยหนาแน่นที่คอหลอดดอกและโคนกลีบเกลี้ยงด้านใน วงกลีบดอกสีขาวหรือสีม่วงอ่อนยาว 0.4-0.55 ซม.แฉกเกลี้ยง มีขนอุยด้านหลังหลอดดอก มีหรือไม่มีต่อมด้านนอก กลีบปากหน้ามีสองแฉก รูปของขนานกลาง กลีบและรูปขอบขนานแกม รูปไข่กลับที่ขอบกลีบหลังรูปเรือ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ที่ผิวด้านนอก หลอดดอกตรงและเกลี้ยงทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ ด้านหลังเกลี้ยงถึงเกือบโคน

    กลุ่มผลเปลือกแข็ง เมล็ดเดียวสีดำ รูปขอบขนานแคบ ยาว 0.1-0.15 ซม. มีปุ่มเล็กน้อย มีเมือกเมื่อเปียก

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • แก้ลมตานซาง
  • แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อในเด็ก
  • ช่วยสมานแผล ล้างแผลทุกชนิด
  • แก้จุดเสียด
  • ขับลมในลำไส้
  • แก้พิษ ตานซาง
  • แก้ไอ
  • แก้หวัด
  • แก้หลอดลมอักเสบ
  • แก้โรคผิวหนัง
  • ช่วยขับเสมหะ
  • แก้กลากแก้เกลื้อน
  • แก้ลม วิงเวียน
  • แก้ไอเรื้อรัง
  • แก้ปวดท้อง
  • รักษาโรคเกลื้อนน้ำนม
  • แก้อาการเกร็งของหลอดลมช่วยย่อย
  • แก้สะอึก
  • ใช้บดเอาน้ำหยอดหูแก้ปวด แก้หูตึง
  • ช่วยทำให้ประจำเดือนเป็นปกติ
  • แก้อาเจียน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา แช่น้ำให้พอง แล้วดื่มก่อนนอน จะช่วยทำให้ระบาย เป็นยาถ่าย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_8.htm
  2. พร้อมจิต ศรลัมพ์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล วงศ์สถิต ฉั่วกุล และคณะ สมุนไพรไทย ใน:พร้อมจิต ศรลัมพ์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล วงศ์สถิต ฉั่วกุล และคณะ บรรณาธิการ สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1 กรุงเทพมหานคร.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนท์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).2543.220 หน้า
  3. วงศ์สถิต ฉั่วกุล.แมงลักและแมงกะแซง.จุลสารข้อมูลสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 25 ฉบับที่1.ตุลาคม 2550.หน้า18-20
  4. แมงลัก ,ฐานข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. นันทวัน บุณยะประภัศร อรนุข โชคชัยเจริญพร บรรณาธิการ.สมุนไพรไม้พื้นบ้าน.กรุงเทพ:ประชาชน จำกัด .2524:823 หน้า.
  6. แมงลัก,ฐานข้อมูลสมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติดเชื้อเอดส์.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  7. รศ.ดร.สุธาทิพย ภมรประวัติ.แมงลัก คอลัมน์บทความพิเศษ.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 357.มกราคม2552
  8. แมงลัก/ใบแมงลัก(Hairy Basil) สรรพคุณและการปลูกแมงลัก.พืชเกษตรดอทคอม(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
  9. แมงลัก.กลุ่มยาถ่าย.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็กพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plant_data/herbs_05_8.htm
  10. ชยันต์ พิเชียรสุนทร แม้นมาส ชวลิต วิเชียร จีรวงส์.คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์.กรุงเทพ:อมรินทร์พริ้นติ้งเอนท์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).2544:777หน้า
  11.  บวร เอี่ยมสมบูรณ์. ดงไม้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2518.