ว่านงาช้าง
  ชื่อสามัญภาษาไทยว่านงาช้าง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCommon Spear Plant, Spear Sansevieria
  ชื่อที่เกี่ยวข้องว่านงาช้าง, ว่านงู, หอกสุรกาฬ
  ชื่อวิทยาศาสตร์Sansevieria cylindrica Bojer
  ชื่อวงศ์Asparagaceae
  ชื่อท้องถิ่นว่านงู, หอกสุรกาฬ
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นงาช้าง เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดิน สูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร เป็นว่านที่มีใบโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเหมือนงาช้าง หน่อทุกหน่อแทงขึ้นมาสูงประมาณ 1 ศอก ไม่มีกิ่ง มีลำต้นใต้ดินลักษณะเป็นเหง้า ไม่มีกิ่งก้าน

ใบ ลักษณะเป็นแท่งกลมยาว แตกขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน เป็นรูปงาช้างลักษณะคล้ายกับผลมะรุม ปลายใบแหลมสูงประมาณ 1-2 ฟุต สีเขียวล้วน และมีร่องตามแนวความยาวจากโคนถึงปลายใบ ใบอ่อนของงาช้างจะมีสีเขียวสดใส พอแก่จัดสีเขียวของใบนี้จะเป็นสีเขียวเข้ม ออกสีลายขาวสลับกัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ แยกแขนง ดอกตูมมีสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ ดอกเป็นรูปกรวย พอดอกบานจะเป็นเส้นเล็ก ๆ สีขาว

สรรพคุณทั่วไป

  • ราก รสเอียน แก้ริดสีดวงทวารและเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ใบ หรือส่วนที่เป็นแท่งกลมเหมือนงาช้าง รสเอียน ขับโลหิตหลังคลอด โรคบาดทะยักในเรือนไฟ แก้เลือดตีขึ้นหน้า ผู้ที่เป็นสิวฝ้า หน้าตกกระ รับประทานยานี้จะเห็นผลในไม่ช้า ชาวมลายูและซูลู ในแอฟริกา ตัดเอาปลายใบไปอังไฟแล้วบีบเอาน้ำหยอดหูแก้ปวดหู ในอินโดนีเซียคั้นเอาน้ำไปทาผมเป็นยาบำรุงรากเส้นผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม
  • ชาวมลายูและซูลู ในแอฟริกา ตัดเอาปลายใบไปอังไฟแล้วบีบเอาน้ำหยอดหูแก้ปวดหู 
  • ในอินโดนีเซียคั้นเอาน้ำไปทาผมเป็นยาบำรุงรากเส้นผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาถ่ายพยาธิ โดยใช้รากสด 5-10 กรัม นำมาล้างให้สะอาดโขลกให้ละเอียดอาจจะผสมเหล้าโรงเล็กน้อยก็ได้ คั้นเอาแต่น้ำจิบ
  • ขับโลหิตหลังคลอด โดยใช้ใบหรือส่วนที่เป็นแท่งกลมเหมือนงาช้าง หั่นเป็นแว่นๆ หรือโขลกกับเหล้าโรงหรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม วันละ 2-3 ครั้ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://prayod.com/ว่านงาช้าง
  2. https://www.samunpri.com/ว่านงาช้าง/