เตย
  ชื่อสามัญภาษาไทยเตย
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษPandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
  ชื่อวิทยาศาสตร์Pandanus amaryllifolius Roxb.
  ชื่อพ้องPandanus ordorus Ridl.
  ชื่อวงศ์Pandanaceae
  ชื่อท้องถิ่นใบเตย, เตยหอม, ต้นเตย, เตยหอมใหญ่, เตยหอมเล็ก (ภาคกลาง), หวานข้าวใหม่ (ภาคเหนือ), ปาแนะวอวิง, ปาแง๊ะออริง (นราธิวาส, มาเลเซีย), พังลั้ง (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เตยจัด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย โคนลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุนหรือเรียกว่า รากอากาศ ลำต้นสามารถแตกหน่อเป็นต้นใหม่ได้ ทำให้มองเป็นกอหรือเป็นพุ่มใหญ่ๆ ที่รวมความสูงของใบแล้วสามารถสูงได้มากกว่า 1 เมตร

ใบเตย แตกออกเป็นใบเดี่ยวด้านข้างรอบลำต้น และเรียงสลับวนเป็นเกลียวขึ้นตามความสูงของลำต้น จนถึงขอด ใบมีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปดาบ ปลายใบแหลม สีเขียวสด ใบชูเฉียงแนบไปกับลำต้น แผ่นใบเป็นมัน กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่าด้านบน มีเส้นกลางใบลึกเป็นแอ่งตื้นๆตรงกลาง ใบนี้ส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา เพราะมีน้ำมันหอมระเหย และสาร ACPY

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ใช้รักษาโรคหัด
  • รักษาเลือดออกตามไรฟัน
  • แก้หวัด
  • รักษาอาการตับอักเสบ
  • ช่วยดับพิษไข้
  • แก้โรคหัด
  • แก้ท้องอืด
  • แก้กระหายน้ำ
  • แก้ร้อนใน
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • รักษาเบาหวาน
  • ใช้รักษาโรคตับ ไตอักเสบ
  • รักษาโรคหืด
  • แก้หนองใน
  • แก้พิษโลหิต
  • แก้ตานซางในเด็ก
  • ช่วยละลายก้อนนิ่วในไต

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
  • ช่วยดับกระหาย นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม
  • รักษาโรคหัดหรือโรคผิวหนัง โดยนำใบเตยมาตำแล้วมาพอกบนผิว
  • ใช้รักษาโรคเบาหวาน ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น
  • ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือไปต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ใบมาหั่นตากแดดให้แห้งแล้วชงดื่มแบบชาเขียวก็ได้
  • ใช้บำรุงผิวหน้า โดยการใช้ใบเตยล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.disthai.com/17040525/
  2. อัจฉรา นิยมเดชา.ผลของการเสริมใบเตยหอม(Pandanus amarylifolius Roxb.) ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของนกกระทาญี่ปุ่นและคุณภาพไข่.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2555.38หน้า
  3. ดวงจันทร์เกรียงสุวรรณ. 2546. พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยาเตยหอมและแตงกวา.งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรมฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่
  4. ใบเตย.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6483
  5. วันดี กฤษณพันธ์.2538.สมุนไพรสารพัดประโยชน์.ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพฯ
  6. สรรพคุณของน้ำเห็ดหลินจือต้มผสมกับอ้อยดำและใบเตย.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6132
  7. เตย/ใบเตย สรรพคุณและการปลูกเตย.พืชเกษตรดอทคอมเว็บเพื่อพืชเกษตรเพื่อพืชไทย(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.puechKaset.com