หญ้าพันงูขาว
  ชื่อสามัญภาษาไทยหญ้าพันงูขาว
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษRough-chaffed flower, Washerman’s plant, Prickly chaff-flower
  ชื่อวิทยาศาสตร์Achyranthes aspera Linn.
  ชื่อพ้องAchyranthes aspera var. rubrofusca (Wight) Hook.f.
  ชื่อวงศ์Amaranthaceae
  ชื่อท้องถิ่นหญ้าตีนงูขาว (กรุงเทพฯ), นอเงือเกะ (เชียงใหม่), ควยงูหลวง (น่าน), หญ้าโคยงู (ภาคเหนือ), ควยงู พันงู พันงูขาว พันงูเล็ก หญ้าท้อง (ภาคกลาง), พันธุ์งู (ไทย), หญ้าพันงู หญ้าพันงูเขา หญ้าไกงู (อื่น ๆ), โกยฉัวผี ต้อคาเช่า (จีนแต้จิ๋ว), เต่าโค่วเฉ่า ถู่หนิวชี หนิวเสอต้าหวง (จีนกลาง), โชวม้องู่ติ้ง, ต๋อค้อเช่า (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หญ้าพันงูขาวเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 30 - 100 ซม. หรือมากกว่า แตกกิ่งก้านเป็นคู่ๆ และสามารถทอดกิ่งนอนไปตามพื้นดินแล้วเกิดรากบริเวณข้อได้ 

ใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนานหรือไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลมถึงกลม โคนสอบแคบมน ผิวใบมีขนสั้นละเอียดสีขาวนุ่มเกาะติดจำนวนมาก 

ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเกาะติดห้อยหัวแนบกับก้านช่อ และมีจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงที่ส่วนปลายเป็นหนามแหลมแข็ง 

ผลมีผิวเรียบรูปทรงกระบอกปลายตัด เมล็ดรูปทรงกระบอกรีหัวและท้ายเรียว ผิวเรียบสีน้ำตาลเหลือง

สรรพคุณทั่วไป

  • ทั้งต้น ช่วยย่อยอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดเอว แก้ปวดเมื่อยจากโรคไขข้ออักเสบ 
  • ราก ทำให้เลือดไหลเวียนคล่อง ลดบวมน้ำ ขับปัสสาวะเป็นเลือด แก้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ปวดข้อ บิด มาลาเรีย 
  • ต้น ขับประจำเดือน แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ 
  • ใบ แก้โรคในลำคอ แก้คออักเสบเป็นเม็ดยอดในคอ แก้โรคในลำคอเป็นเม็ดเป็นตุ่ม 
  • ดอก แก้เสมหะที่คั่งค้างในทรวงอก ละลายก้อนนิ่ว แก้สะอึก แก้แมลงสัตว์กัดต่อย 
  • ผล ทำให้อาเจียน

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มเอาน้ำกินแก้โรคในลำคอ 
  • ใบมีสรรพคุณช่วยแก้โรคในลำคอ แก้คออักเสบเป็นเม็ดยอดในคอ โรคในลำคอเป็นเม็ดเป็นตุ่ม 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544
  2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พันธุ์งูขาว”. หน้า 30.
  3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “หญ้าพันงูขาว”.  หน้า 807-808.
  4. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “พันธุ์งูขาว”.  หน้า 30.
  5. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “หญ้าพันงูขาว”.  หน้า 594.
  6. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “หญ้าพันงูขาว”.  (ไพร มัทธวรัตน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th.  [09 ก.ค. 2014].
  7. ไทยเกษตรศาสตร์.  “หญ้าพันงู”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com.  [09 ก.ค. 2014].
  8. สมุนไพรดอทคอม.  “พันงู”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com.  [09 ก.ค. 2014].
  9. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “พันงู”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [09 ก.ค. 2014].
  10. จำรัส เซ็นนิล.  “หญ้าโคยงู-พันงูขาว ราชาของยาขับปัสสาวะ”., “นิ่ว หญ้าพันงู ราชายาขับปัสสาวะ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net.  [09 ก.ค. 2014].
  11. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด.  (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก).  “หญ้าพันงูขาว”  หน้า 190.