ตะไคร้หอม
  ชื่อสามัญภาษาไทยตะไคร้หอม
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCitronella grass
  ชื่อวิทยาศาสตร์Cymbopogon nardus (L.) Rendle
  ชื่อพ้องCymbopogon winterianus Jowitt.
  ชื่อวงศ์Poaceae
  ชื่อท้องถิ่นจะไครมะขูด , จะไครหอม (ภาคเหนือ) , ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตะไคร้หอมมีลักษณะต่าง ๆ เหมือนกับตะไคร้แกงแทบทุกอย่างแต่มีส่วนที่แตกต่างกันคือ ดอกและกลิ่น เท่านั้น ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปของตะไคร้หอมมีดังนี้ ตะไคร้หอมจัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีลำต้นเทียมโผล่ขึ้นมาจากเหง้า มีลักษณะเป็นข้อปล้อง รูปทรงกระบอก ผิวเรียบ มีสีม่วงปนแดงและมีกลิ่นหอมฉุนแตกต่างจากตะไคร้แกง โดยจะออกเป็นกอ 

ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานปลายแหลม ใบยาวสากและใบโคนแผ่ออกเป็นกาบ มีขนขึ้นตรงบริเวณโคนใบต่อกับกาบ ใบมีสีเขียว กว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 60-120 เซนติเมตร 

ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 1 เมตร แทงออกจากกลางต้น ดอกมีสีน้ำตาลอมแดง โดยช่อดอกเป็นแบบกระจับออกที่ปลายยอดของก้านดอก แยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมี 4-5 ช่อ และมีดอกย่อยจำนวนมาก 

ผลเป็นผลแบบแห้งติดเมล็ด ทรงกระบอกหรือกลม

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้ง 
  • ช่วยขับลมในลำไส้ 
  • แก้ริดสีดวงในปาก 
  • ช่วยขับประจำเดือน 
  • ช่วยขับระดูขาว 
  • ช่วยขับปัสสาวะ 
  • แก้จุกเสียดแน่นท้อง 
  • แก้อาเจียน 
  • แก้ปากแห้งแตก 
  • แก้แผลในปาก 
  • แก้ตานซางในลิ้นและปาก 
  • แก้ธาตุ 
  • แก้เลือดลมไม่ปกติ 
  • แก้ไข้ 
  • แก้ริดสีดวง ใช้ทาผิวหนังกันยุง และแมลง (น้ำมันหอมระเหย)
  • แก้วิงเวียน (ตะไคร้หอมกับเปล้าใหญ่เครือส้มลมและใบหนาด) 
  • แก้ลม (ตะไคร้หอมกับเปล้าใหญ่เครือส้มลมและใบหนาด) 
  • แก้คลื่นเหียนอาเจียน 
  • ช่วยบำรุงธาตุไฟ 
  • แก้ไข้ตัวร้อน 
  • แก้กำเดา

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ภก.สุดเหมือนฝัน ธนธัญญา . น้ำมันหอมระเหยใช้ทาป้องกันยุง, คอลัมน์ รู้ไหม? ยาอะไรเอ่ย?.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่312.เมษายน 2548
  2. ตะไคร้หอม.สมุนไพรที่ใช้ในงานธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. วรรณภา สุวรรณเกิด และ กิตติพันธ์ ตันตระรุ่งโรจน์. การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรในการป้องกันยุงกัด. วารสารโรคติดต่อ. 2537;20(1):4-11.
  4. ศศิธร  วสุวัต ทวีศักดิ์ สุนทรธนศาสตร์ ศิริเพ็ญ จริเกษม ณัฐมาศ พุฒศรี  อัจฉราพร พันธุ์รักส์วงศ์ ศิรินันท์ จันทร อินสน คล่องการงาน,ประสิทธิภาพป้องกันยุงของครีมตะไคร้หอม วท.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2533:5(2):62-7.
  5. สุรัตน์วดี จิวะจินดา ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล  อุดม แก้วสุวรรณ์. การควบคุมแมลงศัตรูผักโดยสารสกัดจากพืช.  สรุปผลการดำเนินงานวิจัย ทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการวิจัย KIP (KURDI INITIATED PROJECT) ประจำปี 2536, 16-19 พฤษภาคม ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์, 2537. หน้า101-3.
  6. สุวรรณ ธีระวรพันธ์.สมุนไพรป้องกันยุง.จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 24.ฉบับที่3.เมษายน 2550.หน้า1-5
  7. อรัญ งามผ่องใส สุนทร พิพิธแสงจันทร์ วิภาวดี ชำนาญ. การใช้สารฆ่าแมลงและสารสกัดจากพืชบางชนิดควบคุมแมลงศัตรูถั่วฝักยาว. วารสารสงขลานครินทร์ 2546;25(3):307-16.
  8. ปราณี ธาณาธะระนิต พัสรี จิราตระกาล.การตั้งตำรับครีมสมุนไพรทากันยุง.โครงการพิเศษคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.2527