|
ชื่อสามัญภาษาไทย | หญ้ายาง (ต้นยางอึ่ง) |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Painted spurge, Mexican fire plant |
ชื่อที่เกี่ยวข้อง | ใบต่างดอก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Euphorbia heterophylla L. |
ชื่อพ้อง | Euphorbia geniculata Ortega, Euphorbia heterophylla var. geniculata (Ortega) M.Gómez, Euphorbia prunifolia Jacq., Poinsettia geniculata (Ortega) Klotzsch & Garcke |
ชื่อวงศ์ | Euphorbiaceae |
ชื่อท้องถิ่น | ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ (กรุงเทพ), หญ้าน้ำหมึก (ภาคเหนือ), หญ้าหลังอึ่ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก, หญ้าสองพันห้าร้อย (คนเมือง), ผักบุ้งป่า (ปะหล่อง), จ๊าผักบุ้ง (ไทลื้อ) |
ต้นหญ้ายาง (ต้นลูกเขยตายแม่ยายทำศพ) จัดเป็นไม้ล้มลุกทรงเรือนยอดทรงกระบอก ความสูงของต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกของลำต้นมีสีเขียว ผิวเรียบ เมื่อหักแล้วจะมียางสีขาวขุ่น ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบเรียวสอบ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 6.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10 เซนติเมตร การเรียงตัวของใบบนกิ่งตรงข้ามและสลับตั้งฉาก ออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณปลายยอด กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเขียวและไม่มีกลีบดอก ส่วนเกสรตัวผู้มีสีเหลืองจำนวน 4 ก้าน ปลายเกสรเป็นกระเปาะ ส่วนเกสรตัวเมียมีสีเหลืองจำนวน 1 ก้าน ปลายเกสรแยกออกเป็น 4 แฉก ส่วนรังไข่เหนือวงกลีบไม่มีกลิ่น ผลออกเป็นกลุ่ม ผลสดจะมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด โดยผลอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่เป็นสีน้ำตาล ลักษณะของผลกลมแป้น มีเมล็ด 3 เมล็ดสีเขียว ลักษณะกลมแป้น | |
| |
|