มันปู
  ชื่อสามัญภาษาไทยมันปู
  ชื่อวิทยาศาสตร์Glochidion littorale Blume Baill.
  ชื่อวงศ์Euphorbiaceae
  ชื่อท้องถิ่นมันปู (ภาคใต้) นกนอนทะเล(นราธิวาส)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มันปูเป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร ปลายกิ่งห้อยลง 

ใบ เดี่ยว เรียงสลับสองข้างของกิ่ง แผ่นใบรูปรี ถึงรูปไข่กลับ ยาว 5-10 ซม. กว้าง 4-5.5 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายใบมน โคนใบสอบ เส้น แขนงใบ 5-7 คู่ ก้านใบยาว 3-5 มม. 

ดอก เล็กสีเขียวอ่อน แยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก 

ผล แก่สีชมพูถึงแดง กลมแป้น สูง 1.2-1.5 ซม. กว้าง 1.5-2 ซม. มี 10-12 พู แตก เมื่อแห้ง มี 10-12 เมล็ด เมล็ดเล็ก ค่อนข้างกลม มีเยื่อสีแดงหุ้ม ติดที่ปลาย ของแกนผล ขึ้นในป่าน้ำกร่อย และบริเวณชายป่าพรุ มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่ อินเดีย ศรีลังกา เวียดนมใต้ และมาเลเซีย ออก ดอกระหว่างเดือน มีนาคม-ตุลาคม

สรรพคุณทั่วไป

สรรพคุณด้านสมุนไพร 
  • รากและลำต้น แก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง ประโยชน์ทางอาหาร 
  • ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อน การปรุงอาหาร ชาวใต้ใช้เป็นผักสดกินกับน้ำพริก แกงและขนมจีน

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใบช่วยเจริญอาหาร รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ 
  • ทั้งต้น ต้มแก้ไขร้อนเย็น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb_10-11.htm