เล็บมือนาง
  ชื่อสามัญภาษาไทยเล็บมือนาง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษRangoon creeper, Chinese honeysuckle, Drunken sailor
  ชื่อวิทยาศาสตร์Quisqualis indica L.
  ชื่อพ้องKleinia quadricolor Crantz, Comdretum indicum (L.) DeFilipps. Quisqualis glabra Burm.f. Quisqualis pubescens Burm.f. Quisqualis spinosa Naves ex F. Villar. Quisqualis loureiri G. Don.Quisqualis sinensis Lindl.Quisqualis grandiflora Miq. Quisqualis longiflora C. Presl. Quisqualis obovata Schumach. & Thonn. Quisqualis villosa Roxb.
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นจะมั่ง จ๊ามั่ง (ภาคเหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อะดอนิ่ง (มลายู-ยะลา)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     เล็บมือนางจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งมีอายุหลายปี มักจะเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีความยาว 5-10 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาบปนแดง ค่อนข้างเรียบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ก่องแก่มีหนามทรงพุ่มแน่นทึบ

    ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบจักเว้าเข้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-9เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-18 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว เนื้อบาง ท้องใบมีขนปกคลุมเป็นจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

    ดอกออกตามปลายกิ่งแขนง เป็นช่อรวมกันหลายสิบดอก แต่ละดอกเป็นหลอดยาวคล้ายดอกปีบหรือดอกเข็ม หลอดยาว 2-3 นิ้ว มีกลีบที่ปลายหลอดดอกละ 5 กลีบ ลักษณะกลีบเรียงปลายมนคล้ายเล็บมือ เป็นที่มาของชื่อเล็บมือนาง ดอกเล็บมือนางเมื่อเริ่มบานมีสีขาว แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีแดงเข้มขึ้นตามลำดับจนร่วงหล่น เนื่องจากในแต่ละช่อมีดอกมากมายและบานไม่พร้อมกัน จึงจะเห็นในแต่ละช่อมีทั้งดอกสีขาว สีชมพูและสีแดงอยู่ด้วยกัน โดยดอกเล็บมือนางมีทั้งขอบกลีบชั้นเดียว และกลีบหลายชั้น (ซ้อน) ดอกเล็บมือนางมีกลิ่นหอมเย็น โดยเฉพาะในช่วงอากาศเย็นในเวลากลางคืน และกลิ่นจะจางลงเมื่ออากาศร้อน

    ผลเป็นผลแห้งและแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย มีสัน 5 สันตามยาว ผลมีขนาดโตประมาณ 0.5 นิ้ว และยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ผลสุกเป็นสีน้ำตาลอมสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

ใบ
  • ตำชโลม หรือทาแผล ทาฝี
  • แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้
ต้น
  • ใช้เป็นยาแก้ไอ
ราก
  • ใช้ถ่ายพยาธิ รักษาตานซาง
เมล็ด
  • ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม, พยาธิเส้นด้ายในเด็ก

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้เมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่และแห้ง 4-5 เมล็ด (4-6 กรัม) หั่นทอดกับไข่ให้เด็กอายุประมาณ 5-6 ขวบรับประทานขับถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม
  • ผู้ใหญ่ : ใช้ 5-7 เมล็ด (หนัก 10-15 กรัม) ทุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือหั่นทอดกับไข่รับประทาน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_04_6.htm