|
ชื่อสามัญภาษาไทย | ต้อยติ่ง |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Cracker plant, Trai-no, Toi ting |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Hygrophila erecta (Burm.f.) Hochr. |
ชื่อพ้อง | Hygrophila phlomoides var. roxburghii C.B. Clarke) |
ชื่อวงศ์ | Acanthaceae |
ชื่อท้องถิ่น | ต้อยติ่งนา (กรุงเทพ), น้ำดับไฟ (ประจวบคีรีขันธ์) |
ต้อยติ่งเป็นไม้ล้มลุก ลำต้น เป็นเหลี่ยมตั้งตรง แตกแขนงเป็นพุ่มเล็กๆ สูง 30-40 เซนติเมตร มีขนปกคลุมลำต้น ส่วนของรากพองโต เก็บสะสมอาหาร ใบ ใบเดี่ยวสีเขียวเป็นมัน ออกจากลำต้นแบบตรงข้าม ใบมีรูปร่างแบบใบพายกลีบยาวรี ปลายใบมน ดอก ดอกเดี่ยวสีม่วง ออกบริเวณซอกใบ กลีบเลี้ยงลักษณะเรียวแหลม 5 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนรวมกันปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ รูปปากแตร ผล เป็นฝักทรงกลม ผิวเรียบเป็นสัน 5 เหลี่ยม ผิวสีน้ำตาลเข้มภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 6-8 เมล็ด ผลแก่เมื่อโดนน้ำจะแตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ดทรงกลมมีงอยยื่นออกจากเมล็ดทั้งสองด้านตรงข้ามกัน ผิวเมล็ดเรียบ แต่มีขนสีขาว บนผิวเมล็ดบ้างเล็กน้อย | |
| |
หมอยาพื้นบ้านโบราณจะใช้ต้อยติ่งทั้งต้น เลือกเอาชนิดที่ไม่แก่ ดอกยังไม่โรย ถอนเอาทั้งรากอย่าให้รากขาด อย่าให้เมล็ดแตก สัก 4-5 ต้น นำไปล้างให้สะอาด แล้วโขลก คั้นเอาแต่น้ำดื่ม แก้ปวดเข่า ขาชา ใช้เวลาประมาณ 7 วันก็หาย | |
|