ชิงชัน
  ชื่อสามัญภาษาไทยชิงชัน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษTamalin หรือ Rosewood หรือ Blackwood
  ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia oliveri Gamble
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), กระซิบ ประดู่สับ (สุราษฎร์ธานี), เก็ด เก็ดดำ เก็ดแดง (เชียงใหม่), กำพี้ต้น พะยูงหิน (เพชรบูรณ์), ดู่ลาย (ลำปาง), ดู่สะแดน (ภาคเหนือ), พะยูงแกลบ (สระบุรี), พะยูงแดง (พิษณุโลก), ยูน (จันทบุรี), หมากพลูตั๊กแตน (ภาคใต้)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง

    ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ

    ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน

    ฝักชิงชันมีลักษณะแบนแผ่เป็นปีกยาวรีหรือขอบรูปขนาน กว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 8-17 ซม. ผิวเรียบส่วนที่หุ้มเมล็ดหนาแข็ง มีลักษณะเป็นกระเปาะกลมหรือแกนรีเล็กน้อย นูนเห็นได้ชัด ส่วนมากมีเมล็ดเดียว มีลักษณะคล้ายรูปไตสีน้ำตาล

สรรพคุณทั่วไป

แก่นรสฝาดร้อน ช่วยบำรุงโลหิตสตรี เปลือกรสฝาด ใช้ต้มชะล้างสมานบาดแผล ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง
 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

เป็นยาสมานรักษาแผล นำเปลือกที่แห้งแล้วมาบดให้เป็นผงละเอียด จาก นั้นนำมาโรยบริเวณที่เป็น ใช้ยาเรื่อย ๆ จนกว่าแผลจะหาย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://beezab.com/ต้นชิงชัน-สมุนไพร-บำรุงเ/
  2. http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=804
  3. https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1496&code_db=610010&code_type=01
  4. https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/science/10000-5044.html