ข่อยดำ
  ชื่อสามัญภาษาไทยข่อยดำ
  ชื่อที่เกี่ยวข้องดังหวาย แม่ยายถมลูกเขย หรือเครือสังฆาต 
  ชื่อวิทยาศาสตร์Clerodendrum disparifolium
  ชื่อวงศ์Lamiaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นข่อยดำเป็นไม้ขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้านสาขา ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม

ใบรูปหอกปลายเรียวแหลม ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว

ดอกออกเป็นช่อชั้นที่ปลายต้นเหมือนต้นปีป สีขาวเหลืองแดง ข่อยดำมักเกิดขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่า ชายป่าทั่วไป

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบสดเชื่อว่า มีสรรพคุณแก้มะเร็ง, แก้โรคไต, แก้พิษสัตว์กัดต่อย เช่นพิษงูเห่า, งูกะปะ, งูจงอาง, ฯลฯ พิษตะขาบ, พิษผึ้ง, ต่อ, แตน, มดคันไฟ, มดตะนอย, ฯลฯ 
  • แก้น้ำเหลืองเสีย มีผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องฟอกเลือดทุกสัปดาห์ นำใบข่อยดำไปต้มน้ำดื่ม ผลเลือดดีขึ้นมาก
  • ใบและราก รักษาโรคไต ความดันโลหิตสูงและแก้พิษสัตว์กัดต่อย

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

ผู้ป่วยโรคไต ใช้วิธีต้มครั้งละ8-10ใบต่อน้ำ 1 ลิตร ดื่มแทนน้ำ เคี้ยวกินใบสด 2-5 ใบ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.thaicentralgarden.com/16795/
  2. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล