|
ชื่อสามัญภาษาไทย | หางเสือ |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Platostoma cochinchinense |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Platostoma cochinchinense (Lour.) A.J.Paton |
ชื่อวงศ์ | Fabaceae |
ชื่อท้องถิ่น | หางหมาจอก ดอกหางเก้ง หญ้าตะขาบ หญ้าหางกระรอก หญ้าหางแมว |
หางเสือเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง 90 – 120 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อย 3 ใบ (trifoliate) ใบย่อยบนสุดรูปรี (elliptic) ใบย่อยด้านข้างรูปรี แต่ฐานใบข้างหนึ่งsเบี้ยวเอียง ใบย่อยบนสุดกว้าง 2.6 – 4.5 เซนติเมตร ยาว 8.3 – 11.5 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้าง กว้าง 3.1 – 4.4 เซนติเมตร ยาว 7.6 – 10.6 เซนติเมตร หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมปานกลาง ก้านใบรวมยาว 4.7 – 7.6 เซนติเมตร ก้านใบย่อยบนสุด ยาว 0.2 – 0.6 เซนติเมตร ก้านใบย่อยด้านข้าง ยาว 0.2 – 0.4 เซนติเมตร หูใบรูปแถบเรียวยาว ดอกช่อกระจะเชิงลด ออกดอกที่ยอดและซอกใบ มีดอกย่อย 22 – 46 ดอก กลีบดอกรูปดอกถั่ว กลีบดอกส่วนกลาง (standard) สีเขียวตองอ่อนมีริ้วสีม่วงแดงสลับ กลีบดอกคู่ด้านข้าง (wing) สีม่วงแกมชมพู ส่วนกลีบดอกคู่ล่างสุด (keel) สีเขียวตองอ่อนมีริ้วม่วงแดง ผลเป็นฝักรูปขอบขนานมีขนละเอียดสั้นๆ ปกคลุมหนาแน่นที่เปลือก และมีริ้วสีม่วงแดงพาดที่ฝัก ยาว 1.2 – 1.5 เซนติเมตร แตกเป็น 2 ฝา มี 1 – 2 เมล็ด | |
ยาพื้นบ้านอีสานใช้
| |
|