ผักบุ้งรั้ว
  ชื่อสามัญภาษาไทยผักบุ้งรั้ว
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษRailway Creeper
  ชื่อวิทยาศาสตร์Ipomoea cairica (L.) Sweet
  ชื่อพ้องConvolvulus cairicus L., Ipomoea palmata Forssk.
  ชื่อวงศ์Convolvulaceae
  ชื่อท้องถิ่นผักบุ้งฝรั่ง (กรุงเทพฯ), โหงวเหยียวเล้ง (จีนแต้จิ๋ว), อู่จ่าวหลง อู๋จว่าหลง อู๋จว่าจินหลง (จีนกลาง)
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • ทั้งต้นมีรสหว่านชุ่ม ขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ ไต และกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (ทั้งต้น)
  • ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ แก้ไอร้อนในปอด (ทั้งต้น)
  • ในประเทศอินเดียจะใช้เมล็ดนำมาปรุงเป็นยาถ่าย (เมล็ด)
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ปัสสาวะกะปริบกะปรอย (ทั้งต้น)
  • ตำรับยาแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่วที่ถ่ายปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ระบุให้ใช้ต้นสดประมาณ 30-35 กรัม นำมาต้มกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อย แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม (ทั้งต้น)
  • ใบใช้ตำพอกหรือทาแก้ผดผื่นคัน (ใบ)
  • ตำรับยาแก้ฝีบวม ฝีหนองภายนอก หรือผดผื่นคัน ให้ใช้ต้นสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
  • เมล็ดใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ (เมล็ด)

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ผักบุ้งรั้ว”.  หน้า 496-497.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “ผักบุ้งรั้ว”.  หน้า 348.
  • สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ผักบุ้งรั้ว”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [18 พ.ย. 2014].
  • โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี.  “ผักบุ้งรั้ว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.skn.ac.th.  [18 พ.ย. 2014].
  • https://medthai.com/ผักบุ้งรั้ว/