กำลังหนุมาน
  ชื่อสามัญภาษาไทยกำลังหนุมาน
  ชื่อวิทยาศาสตร์Dracaena conferta L.
  ชื่อวงศ์Agavaceae
  ชื่อท้องถิ่นกำลังขุนมาร (นครศรีธรรมราช) กำลังควายถึก (ยะลา) สะลีกี่บูโต๊ะ (มลายู-นราธิวาส)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กำลังหนุมานเป็นไม้ล้มลุก เปลือกสีเทา ใบ ใบเดี่ยว ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปไข่ กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 29-35 เซนติเมตร ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม เส้นใบแตก แบบเส้นขนาน ใบอ่อนเขียวอ่อน ใบแก่เขียวเข้ม ดอก ดอกช่อที่ปลายยอดสีชมพู มี 15-25 ดอกย่อยมีลักษณะเป็นหลอด ช่วงการออกดอกและติดผล : ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน 

ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปแถบ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 60-70 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม

ดอกเป็นช่อดอกเป็นชื่อโปร่ง ออกตามปลายยอด ช่อแขนงยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มี 3-4 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรวม 6 กลีบ สีขาว โคนติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็นกลีบแคบ ๆ 6 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดอยู่ที่โคนหลอดดอก อับเรณูติดกับก้านชูอับเรณูตรงกลางทางด้านหลังแกว่งได้ รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่อมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียคล้ายเส้นด้าย ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มกลม
 
ผลกำลังหนุมานมีลักษณะเป็นผลกลม

สรรพคุณทั่วไป

เนื้อไม้,ราก รสขมชุ่ม แก้น้ำดีพิการ นอนสะดุ้งผวาหลับ ๆ ตื่น ๆ ร้อนหน้า น้ำตาไหล บำรุงกำลังให้ทำกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นให้เจริญแข็งแรง เป็นยาอายุวัฒนะ
 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://sc.sci.tsu.ac.th/plantsci/planscitsu.php?ssl=42
  2. https://srdi.yru.ac.th/bcqy/page/296/กำลังหนุมาน.html
  3. https://www.samunpri.com/กำลังหนุมาน