ยอ
  ชื่อสามัญภาษาไทยยอ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษndian mulberry
  ชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifolia
  ชื่อวงศ์Rubiaceae
  ชื่อท้องถิ่นอบ้าน (ภาคกลาง) , มะตาเสื่อ (ภาคเหนือ) , แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ,Noni (ฮาวาย) ,Meng kudu (มาเลเซีย) ,Ach (ฮินดู)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้นยอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-6 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ 5-10 เซนติเมตร ขึ้นกับอายุ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เปลือกลำต้นบางติดกับเนื้อไม้ ผิวเปลือกออกสีเหลืองนวลแกมขาว หยาบสากเล็กน้อย แตกกิ่งน้อย 3-5 กิ่ง ทำให้แลดูไม่เป็นทรงพุ่ม

           ใบใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) แทงออกตรงข้ามกันซ้ายขวา มีรูปทรงรี หรือขอบขนาน ใบกว้างประมาณ 10-20 ซม. ยาวประมาณ 15-30 ซม. ใบอ่อนสีเขียวสด เมื่ออายุใบมากจะมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. โคนใบ และปลายใบมีลักษณะแหลม ขอบใบ และผิวใบเป็นคลื่น ผิวใบมันเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนใบมักพบเป็นตุ่มที่เกิดจากแบคทีเรีย

           ดอก  ดอกออกเป็นช่อกลมเดี่ยว ๆ สีขาว รูปทรงเหมือนหลอด ดอกแทงออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-4 ซม. ไม่มีก้านดอกย่อย จัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย กลีบรองดอก และโคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบดอกมีสีขาว เป็นรูปท่อ ยาวประมาณ 8-12 มม. ผิวดอกด้านนอกเรียบ ด้านในมีขน ดอกส่วนครึ่งปลายบนแยกเป็น 4-5 แฉก ยาวประมาณ 4-5 มม. เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย ยาวประมาณ 15 มม. แยกเป็น 2 แฉก อับเรณูยาวประมาณ 3 มม.

           ผล  ผลเป็นชนิดผลรวม (multiple fruit) เช่นเดียวกับน้อยหน่า และขนุน เชื่อมติดกันเป็นผลใหญ่ดังที่เราเรียกผลหรือหมาก ขนาดผลกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาว 3-10 ซม. ผิวเรียบเป็นตุ่มพอง ผลอ่อนจะมีสีเขียวสด เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมเขียว และเมื่อสุกจะมีสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีขาวจนเน่าตามอายุผล เมล็ดในผลมีจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะแบน ด้านในเมล็ดเป็นถุงอากาศทำให้ลอยน้ำได้ ผิวเมล็ดมีสีนํ้าตาลเข้ม

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยขับลมในลำไส้ ขับผายลม
  • ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร
  • แก้สะอึก
  • แก้เหงือกเปื่อย เหงือกบวม
  • ขับระดูเสีย ขับเลือดลม ฟอกเลือด
  • ขับน้ำคาวปลา
  • แก้เสียงแหบแห้ง
  • แก้ตัวเย็น
  • แก้ร้อนในอก
  • แก้กระษัย
  • แก้อาเจียน 
  • เป็นยาขับระดูสตรี
  • เป็นยาระบาย
  • ใช้ทาแก้แผลเรื้อรัง

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • แก้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ ใช้ผลดิบหรือห่าม(ยังไม่สุก) ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ย่าง หรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ใช้ครั้งละ 2 กำมือ น้ำหนักประมาณ 10-15 กรัม ต้มหรือชงน้ำดื่มจิบแต่น้ำบ่อย ๆ ขณะที่มีอาการ ถ้าดื่มครั้งละมาก ๆ จะทำให้อาเจียน
  • ใบสดใช้ต้มน้ำดื่มหรือนำมาบดตากแห้งชงเป็นชาดื่ม รวมถึงใส่แคปซูลรับประทาน ช่วยแก้กระษัย แก้ปวดเมื่อยตามข้อมือข้อเท้า แก้ท้องร่วง ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้โรคเบาหวาน ป้องกันโรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือด แก้โรคมะเร็ง
  • ดอกใช้ต้มน้ำดื่มหรือนำมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม แก้วัณโรค โรคเบาหวาน ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด ต้านโรคมะเร็ง
  • เนื้อผลมีรสเผ็ดร้อน มีสารออกฤทธิ์คือ asperuloside ใช้แก้อาเจียน ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ช่วยขับประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ
  • รากนำมาต้มหรือดองเหล้ารับประทานเป็นยาระบาย แก้กระษัย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันโรคมะเร็ง โรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. มากคุณค่าน้ำลูกยอ.สภาภรณ์ ปิติพร.2545.
  2. อัญชลี จูฑะพุทธิ  ปุณฑริกา ณ พัทลุง  อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์  เย็นจิตร เตชะดำรงสิน.  การศึกษาฤทธิ์ต้านอาเจียนของผลยอ. ไทยเภสัชสาร 2539;20(3):195-202.
  3. ผลของใบยอและฟ้าทะลายโจรต่อการเปลี่ยนแปลงสีและอัตราการจับกินเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวในปลาทอง (Carasius auratus.) ชฎาธาร โทนเดียว,2527.
  4.  วิชัย เอกพลากร  สำรวย ทรัพย์เจริญ ประทุมวรรณ์  แก้วโกมล และคณะ.  การศึกษาทางคลินิกของผลยอในการระงับอาการอาเจียน.  รายงานการวิจัยโครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน  กระทรวงสาธารณสุข.
  5. ยอ.สมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คระเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  6. ลูกยอ/ใบยอ น้ำลูกยอและสรรพคุณยอ.พืชเกษตรดอทคอม(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://pechkaset.com
  7. ยอ.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudeug.com/main.php?action=viewpage&pid=111
  8. ยอ.สมุนไพรไทยสรรพคุณสารพัดที่หลายคนมองข้าม.ศูนย์ปฏิบัติการช่างเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส
  9. ยอ.สมุนไพรที่มีการใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  10. สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ. การพัฒนายาเพิ่มภูมิคุ้มกันจากสมุนไพร: ยอบ้าน (Morinda citrifolia L.). รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2546.