ตะลิงปลิง
  ชื่อสามัญภาษาไทยตะลิงปลิง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษBilimbi, Bilimbing, Cucumber tree, Tree sorrel
  ชื่อวิทยาศาสตร์Averrhoa bilimbi L.
  ชื่อวงศ์Oxalidaceae
  ชื่อท้องถิ่นมุงมัง (เกาะสมุย) กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง (ระนอง), บลีมิง (นราธิวาส), มะเฟืองตรน, หลิงปลิง (ภาคใต้)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ต้นตะลิงปลิงนั้นจัดเป็นพืชในเขตร้อนและเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง

    ลักษณะของใบตะลิงปลิงเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขุยนุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร
    ลักษณะของดอกตะลิงปลิง จะออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5 กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอกสีขาว

    ลักษณะกลมยาวปลายมน ผลยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ออกผลเป็นช่อห้อย ผิวของผลมีลักษณะเรียบสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลือง เนื้อข้างในเป็นเนื้อเหลว มีรสเปรี้ยว และมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดตะลิงปลิงจะแบนยาว มีสีขาว

สรรพคุณทั่วไป

  • ผลช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • รากช่วยแก้พิษร้อนใน แก้กระหายน้ำ
  • ผลใช้ผสมกับพริกไทย นำมารับประทานจะช่วยขับเหงื่อได้
  • ตะลิงปลิงมีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต
  • ผลช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ใบพอกรักษาคางทูม
  • สมุนไพรตะลิงปลิงมีสรรพคุณเป็นยาลดไข้
  • รากช่วยดับพิษร้อนของไข้
  • ดอกตะลิงปลิงนำมาชงเป็นชาดื่มช่วยแก้อาการไอ
  • ผลช่วยละลายเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น 11. ผลและรากช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร
  • รากช่วยแก้อาการเลือดออกตามกระเพาะอาหารและลำไส้
  • ใบและรากช่วยรักษาอาการอักเสบของลำไส้
  • ใบและรากช่วยรักษาซิฟิลิส (Syphilis)
  • ผลและรากช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
  • ผลใช้เป็นยาบำรุงแก้อาการปวดมดลูก
  • รากช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์
  • ใบใช้รักษาโรครูมาตอยด์
  • ใบและรากช่วยแก้ไขข้ออักเสบ
  • ผลและรากช่วยฝาดสมาน
  • ใบช่วยรักษาอาการอักเสบ
  • ใบตะลิงปลิงใช้พอกแก้อาการคัน ลดอาการบวมแดงให้หายเร็วขึ้น หรือใช้ต้มอาบก็ได้

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_29_1.htm
  2. เว็บไซต์คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  4. เว็บไซต์หมอชาวบ้าน
  5. เว็บไซต์โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
  6. เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์