|
ชื่อสามัญภาษาไทย | กระดูกไก่ดำ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Justicia gendarussa Burm.f. |
ชื่อพ้อง | Gendarussa vulgaris Nees,Gendarussa vulgaris Bojer |
ชื่อวงศ์ | Acanthaceae |
ชื่อท้องถิ่น | กระดูกดำ (จันทบุรี), ปองดำ แสนทะแมน (ตราด), เฉียงพ |
![]() | |
![]() | |
![]() | |
![]() | |
กระดูกไก่ดำเป็นพรรณไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 90-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสีแดงเข้มถึงสีดำหรือเป็นสีม่วง เกลี้ยงมัน ลักษณะของลำต้นและกิ่งเป็นปล้องข้อ ดูคล้ายกับกระดูกไก่ โดยมีขนาดข้อของลำต้นยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว ส่วนข้อของปล้องกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ตามลำต้น กิ่งก้าน และใบมีสีแดงเรื่อ ๆ ต้นกระดูกดำเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักขึ้นเองตามริมลำธารในป่าดงดิบ ลำต้นเป็นสีแดงเข้มถึงสีดำหรือเป็นสีม่วง เกลี้ยงมัน ลักษณะของลำต้นและกิ่งเป็นปล้องข้อ ดูคล้ายกับกระดูกไก่ ตามลำต้น กิ่งก้าน และใบมีสีแดงเรื่อ ๆ ใบเดี่ยวเรียงคู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเงาเป็นสีเขียวเข้ม หน้าใบเป็นสีเขียวสด ส่วนหลังใบเป็นสีเหลืองอมสีเขียว มีเส้นกลางใบเป็นสีแดงอมดำ ส่วนก้านใบสั้น ใบออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปใบหอก เล็กเรียวแหลมทั้งปลายใบและโคนใบ ขอบใบเรียบกว้างประมาณ 1-3เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-15เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเป็นมัน ด้านหน้าใบสีเขียวสด มีเส้นกลางใบเป็นสีแดงอมดำที่เห็นชัด ส่วนหลังใบเป็นสีเหลืองสีเขียว ก้านใบสั้นและใบมีรสขม ดอกออกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดและปลายกิ่ง โดยในช่อ จะมีความยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ดอกจะมีลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ ในก้านบริเวณปลายดอกจะแยกออกเป็นกลีบดอก ซึ่งกลีบดอกเป็นสีขาวแกมชมพู มีลักษณะโค้งงอนเหมือนช้อน ข้างในหลอดดอกมีเกสรเพศผู้ โผล่ ส่วนบริเวณโคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ผลออกเป็นฝัก ยาว 1-1.5 เซนติเมตร โดยเมื่อแก่ฝักจะแตกออกมา ด้านในมีเมล็ดหลายเมล็ดลักษณะกลมแบนมีสีดำ ผลมีลักษณะเป็นฝัก | |
ใช้แก้ไอ แก้ไข้ แก้เลือดคั่งค้าง ช่วยกระจายเลือดลม ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย โดยใช้รากหรือลำต้นหรือใบต้มกับน้ำดื่ม แก้อาการปวดศีรษะ แก้โรคหืด แก้ไอ แก้ปวดท้อง ท้องเสีย โดยใช้ใบสดนำมาตำหรือคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม แก้อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะ โดยใช้น้ำคั้นจากใบผสมกับเหล้ากิน แก้ท้องร่วงอย่างแรง โดยใช้ใบมาต้มกับนมรับประทาน ใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยโดยใช้รากและใบนำมาตำผสมกันแล้วใช้พอกบริเวณที่เป็น ใช้แก้โรคผิวหนังและอาการผื่นคันตามตัวโดยใช้รากนำมาต้มกับน้ำอาบ | |
ใบ |
|
ราก |
|
รากและใบ |
|
ต้น | ทั้งต้นมีรสเผ็ด เป็นยาร้อนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาขับลมชื้นตามข้อกระดูก |
1. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. “กระดูกไก่ดํา”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 19-20. 2. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2558-2559 โครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ สมุนไพรไม้พื้นบ้าน.เล่ม 4(604) 3. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. “กระดูกไก่ดํา”. หนังสือสารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. หน้า 75. 4. วิทยา บุญวรพัฒน์. “กระดูกไก่ดำ”. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 28. 5. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. “เฉียงพร้ามอญ”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 237-239. 6. https://www.disthai.com/17217335/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B3 7. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “กระดูกไก่ดํา”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 19-20. 8. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “กระดูกไก่ดำ”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 28. 9. หนังสือสารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. “กระดูกไก่ดํา”. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). หน้า 75. 10. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “เฉียงพร้ามอญ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 237-239. 11. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Justicia gendarussa Burm. f.”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [16 เม.ย. 2014]. 12. จำรัส เซ็นนิล. “เฉียงพร้า-กระดูกไก่ดำ รักษามะเร็งเต้านม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [16 เม.ย. 2014]. 13. ผู้จัดการออนไลน์. “กระดูกไก่ดำ สุดยอดสมุนไพร แก้ปวด แก้อักเสบ”. (ข้อมูลโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [20 มิ.ย. 2017]. 14. SCI NEWS. “Powerful Anti-HIV Compound Found in Asian Medicinal Plant: Patentiflorin A”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sci-news.com. [20 มิ.ย. 2017]. 15. https://medthai.com/กระดูกไก่ดํา/ |