ยางน่อง
  ชื่อสามัญภาษาไทยยางน่อง
  ชื่อวิทยาศาสตร์Strophantus caudatus (Linn.) Kurz.
  ชื่อพ้องStrophantus scandens
  ชื่อวงศ์Apocynaceae
  ชื่อท้องถิ่นน่อง,ก๊อง,จ้อยนาง,ยอน,ยาค่าง,ยางค่าง,ย่าน่อง,ยวน, หมากลิ้นอาง, จิว, ชะแวะ, โต๊ะเหล่, ทรายเขา, เทียนขโมย , ยางน่องขาว, น่องยางขาว, ย่านาง
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ยางน่องเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สูงได้ถึง 12 เมตร เถากลม เกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลแดง ไส้อ่อน ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาวมีพิษ 

ใบเดี่ยว หนาเรียบ แข็ง ใหญ่และยาว เรียงตรงข้าม รูปวงรี รูปไข่กลับหรือรูปไข่ กว้าง 3-9 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม เป็นมันสีเขียวเข้ม 

ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวนวล 5 กลีบ ปลายแหลมยาวสีแดงเข้มเมื่อแรกบาน แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดง ปลายกลีบสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วง รยางค์รูปมงกุฎสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง 

ผลเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ขนาดใหญ่ กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 13-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จัดสีน้ำตาลแดง และแตกออก เมล็ดสีน้ำตาล มีขนสีขาว ปลิวไปตามลม เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ในป่าละเมาะ ป่าแล้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ราก -ขับกระทุ้งพิษ แก้ไข้ทุกชนิด
  • เปลือกและใบ -แก้ไข้ น้ำคั้นจากใบ ใช้ในปริมาณน้อยเป็นยากระตุ้นหัวใจ
  • เมล็ด -แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้บิด
  • น้ำยาง -ใช้เป็นยาพิษ ทาลูกหน้าไม้ยิงสัตว์ 

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=100
  2. http://paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/ยางน่อง.htm