|
ชื่อสามัญภาษาไทย | พนมสวรรค์ |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Pagoda flower |
ชื่อที่เกี่ยวข้อง | นมสวรรค์ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Clerodendrum paniculatum L. |
ชื่อพ้อง | Clerodendrum pyramidale |
ชื่อวงศ์ | Lamiaceae |
ชื่อท้องถิ่น | พวงพีแดง (อุบลราชธานี) พวงพีเหลือง (เลย) หัวลิง (สระบุรี) ฉัตรฟ้า สาวสวรรค์ (นครราชสีมา) ปรางมาลี (กลาง) นมสวรรค์ (ใต้) น้ำนมสวรรค์ (ระนอง) |
พนมสวรรค์เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 0.5-4 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลแกมเขียว กิ่งอ่อนต้นอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปฝ่ามือ รูปไข่กว้างหรือเกือบกลม กว้าง 7-38 เซนติเมตร ยาว 4-40 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึก 3-7 แฉก ปลายแฉกแหลม ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนและต่อมกระจายทั้งสองด้าน หลังใบเรียบสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างมีขนสากคายมือ ท้องใบสีอ่อนกว่า ก้านใบยาว 3-15 เซนติเมตร หรือยาวกว่า มีร่องตามยาว ดอกช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ออกที่ปลายยอด สีแดงหรือส้ม รูปเป็นชั้นคล้ายฉัตรหรือรูปไข่ ขนาดช่อดอก กว้าง 20-30 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ก้านช่อเป็นเหลี่ยม กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง มี 5 กลีบ มีขนกระจายด้านนอก กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 0.7-1.4 ซม. มีขนและต่อมกระจายด้านนอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ยาว 1.5-2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ยาวโค้งพ้นปากหลอดกลีบดอก อับเรณูรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ รังไข่ทรงรีเกือบกลม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่า เกสรเพศผู้อันยาว หรือยาวกว่าเล็กน้อย ยอดเกสรแยกเป็น 2 แฉก สั้นๆ ใบประดับรูปไข่แกมรูปรี คล้ายใบ ยาว 1-5 เซนติเมตร ใบประดับย่อยรูปแถบยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง มี 5 กลีบ โคนเชื่อมกัน หลอดกลีบเลี้ยงสั้นๆ ปลายแยก 5 กลีบ รูปใบหอก ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีต่อมและขนกระจาย ผลสดรูปทรงกลม ขนาดเล็ก สีเขียว ผลผนังชั้นในแข็ง ทรงกลมๆ มี 2-4 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-9 มิลลิเมตร เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแกมเขียว หรือดำ มีเมล็ดเดียว แข็ง เมื่อสุกมีสีแดงคล้ำ พบตามป่าเต็งรัง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึงเมษายน | |
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้
ตำรายาไทย ใช้
| |
| |
|