ว่านมหากาฬ
  ชื่อสามัญภาษาไทยว่านมหากาฬ
  ชื่อวิทยาศาสตร์Gynura pseudochina (L.) DC.
  ชื่อพ้องGynura bodinieri Levl.
  ชื่อวงศ์Asteraceae
  ชื่อท้องถิ่นคำโคก (ขอนแก่น, เลย), หนาดแห้ง (นครราชสีมา), ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์), ว่านมหากาฬ (กรุงเทพฯ), ผักกาดกบ (เพชรบุรี), ผักกาดนกเขา (สุราษฎร์ธานี), ดาวเรือง (ภาคกลาง), แจะออเมีย (เมี่ยน), ชั่วจ่อ (ม้ง), เครือผักปั๋ง (ลั้วะ), หนิวเสอซันฉิ (จีนกลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นว่านมหากาฬ จัดเป็นไม้ล้มลุก เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและวิธีการแยกหน่อ ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีอาการอุดมสมบูรณ์ ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง ควรรดน้ำเช้าและเย็น และหมั่นดูแลความชุ่มชื้น (แต่อย่าให้แฉะ เพราะจำทำให้ใบเน่าได้) ส่วนปุ๋ยให้ใส่เพียงเดือนละครั้ง พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ สีเขียวล้วน สีแดงเข้ม และสีแดงเรื่อ 

ใบว่านมหากาฬ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลัก ลักษณะของงใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่ ส่วนก้านใบสั้นเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว 

ดอกว่านมหากาฬ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีมีขนาดเล็ก 

ผลว่านมหากาฬ ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน

สรรพคุณทั่วไป

  • ต้นว่านมหากาฬ จัดเป็นไม้ล้มลุก เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและวิธีการแยกหน่อ ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีอาการอุดมสมบูรณ์ ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง ควรรดน้ำเช้าและเย็น และหมั่นดูแลความชุ่มชื้น (แต่อย่าให้แฉะ เพราะจำทำให้ใบเน่าได้) ส่วนปุ๋ยให้ใส่เพียงเดือนละครั้ง พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ สีเขียวล้วน สีแดงเข้ม และสีแดงเรื่อ
  • ใบว่านมหากาฬ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลัก ลักษณะของงใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่ ส่วนก้านใบสั้นเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว
  • ดอกว่านมหากาฬ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีมีขนาดเล็ก
  • ผลว่านมหากาฬ ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ทั้งต้นและรากมีรสขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึมระส่ำระสาย ทำให้เลือดเย็น และช่วยฟอกเลือด 
  • หัวมีรสเย็น ใช้กินเป็นยาดับพิษร้อน พิษกาฬ พิษอักเสบ พิษเซื่องซึม แก้ไข้ ระส่ำระสาย หรือกระสับกระส่าย 
  • ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ไข้ โดยนำมาต้มกับน้ำดื่มเรื่อย ๆ ต่างน้ำชา อาการไข้จะทุเลาและหายไปในที่สุด 
  • ใบนำมาคั้นเอาน้ำกินแก้คอเจ็บคอและอมกลั้วคอ 
  • ช่วยแก้เลือดกำเดา ด้วยการใช้ยาแห้งจากทั้งต้น รากบัวหลวง และหญ้าคา อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรวมกันรับประทาน 
  • ใช้เป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด 
  • หัวใช้เป็นยาแก้โรคบิด 
  • หัวมีสรรพคุณเป็นยารักษาแผลอักเสบและรักษามดลูกของสตรี ถ้านำมาบดให้เป็นผงชงกับชาให้สตรีหลังคลอดดื่ม จะช่วยขับประจำเดือนได้ด้วย 
  • ช่วยขับระดูของสตรี 
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือดจากบาดแผลได้ดี 
  • ใบสดใช้ตำพอกรักษางูสวัด เริม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 5-6 ใบ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะที่สะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย หรือใช้ใบโขลกผสมกับเหล้า ใช้น้ำทาหรือพอกบริเวณที่เป็น ส่วนหัวมีสรรพคุณช่วยแก้เริม 
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้โรคไฟลามทุ่ง 
  • หัวใช้ตำพอกหรือฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาแผลพุพองและฝี โดยให้ทาวันละ 3-4 ครั้ง 
  • ใบสดนำมาโขลกผสมกับเหล้าใช้เป็นยาพอกฝี หรือหัวลำมะลอก ส่วนอีกวิธีให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก ใช้พอกรักษาฝี ฝีมีหนอง ช่วยถอนพิษฝีหนอง 
  • ใบสดมีฤทธิ์ทำให้เย็น ใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษ และแก้อาการปวดแสบปวดร้อน (จากสัตว์ที่มีพิษกัด เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ตัวต่อ ผึ้ง เป็นต้น) 
  • รากและใบสดใช้ตำพอกแก้ปวดบวม รวมถึงช่วยถอนพิษปวดแสบปวดร้อน 
  • ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น 
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาพอกเนื้องอกที่เต้านมและยังเป็นยาบรรเทาอาการปวดและแก้อาการบวม 
  • ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลกผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น 
  • ทั้งต้นและรากมีสรรพคุณเป็นยาคลายเส้น 
  • ชาวเมี่ยนจะใช้ใบนำมาต้มใส่ไก่ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือให้สตรีที่อยู่ไฟรับประทานเพื่อช่วยบำรุงน้ำนมและบำรุงโลหิต 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ว่านมหากาฬ”. หน้า 275.
  2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านมหากาฬ”. หน้า 726-727.
  3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “ว่านมหากาฬ”. หน้า 138.
  4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ว่านมหากาฬ”. หน้า 116.
  5. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มหากาฬ”. หน้า 416.
  6. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ว่านมหากาฬ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [04 มิ.ย. 2014].
  7. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ว่านมหากาฬ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [04 มิ.ย. 2014].
  8. โลกแห่งสมุนไพร. (รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์). “ว่านมหากาฬ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/rangsan/. [04 มิ.ย. 2014].
  9. ว่าน…พืชมหัศจรรย์, โรงเรียนอุดมศึกษา. “มหากาฬ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.udomsuksa.ac.th. [04 มิ.ย. 2014].
  10. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ว่านมหากาฬ”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือสรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด (สุนทรี สิงหบุตรา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [04 มิ.ย. 2014].
  11. วารสารเคหการเกษตร. “นักวิจัย มมส.เจ๋งค้นพบว่าน มหากาฬพืชมหัศจรรย์ช่วยฟื้นสภาพดิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.kehakaset.com. [04 มิ.ย. 2014].
  12. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักกาดกบ”. หน้า 462-463.