มะนาว
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะนาว
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCommon lime, Lime , Sour lime
  ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swing.
  ชื่อพ้องLimonia aurantifolia Christm. & Panzer.
  ชื่อวงศ์Rutaceae
  ชื่อท้องถิ่นส้มมะนาว (ภาคกลาง),ส้มนาว (ภาคใต้) ,สีมานีปีห์ (มลายู) ,หมากฟ้า (ไทยใหญ่) , โกรยชะม้า (เขมร) , มะเน้าเลย์ , มะนอเกละ , ปะนอเกล (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) , ปะโหน่งกลยาน (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะนาวเป็นไม้ต้น ขนาดเล็ก เปลือกลำต้นเรียบสีขาวปนน้ำตาล แผ่กิ่งก้านสาขากว้าง และมีหนามแหลมแข็งตามกิ่งก้านบริเวณซอกใบ 

ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยใบเดียว ลักษณะใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมน แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน และมีต่อมน้ำมัมกระจายอยู่ตามผิว ใบอ่อนสีเขียวอมแดง ก้านใบสั้นและมีปีกแคบหรืออาจจะไม่มีปีก ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ประมาณ 5 - 7 

ดอก หรือเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ด้านท้องมีสีม่วงปน เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นกลุ่มๆ ละ 4 - 8 อัน ดอกมีกลิ่นหอม 

ผล ลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยงสีเขียวเข้ม ส่วนผลแก่จะมีสีเหลือง เนื้อในแบ่งเป็นซีกหรือห้องแบบรัศมีประมาณ 5 - 40 ห้อง มีรสเปรี้ยว เมล็ด ภายในเนื้อผลแต่ละซีกหรือห้อง มีเมล็ดลักษณะกลมรีหรือรูปไข่ มีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน ประมาณ 10 -15 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ช่วยในการเจริญอาหาร
  • แก้อาการวิงเวียนหลังคลอดบุตร
  • แก้อาการลมเงียบ
  • แก้โรคตาแดง
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
  • ช่วยแก้อาเจียน เป็นลมวิงเวียนศีรษะ เมาเหล้าได้
  • ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ
  • เป็นยาแก้ไข้
  • แก้ไข้ทับระดู
  • ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือเลือดออกตามไรฟัน
  • มะนาวช่วยในการขับเสมหะ
  • ช่วยแก้ไอหรืออาการไอที่มีเลือดปนออกมา
  • ช่วยบรรเทาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ
  • ช่วยบรรเทาอาการเสียงแหบแห้ง
  • ช่วยลดอาการเหงือกบวม
  • เป็นยาบ้วนปาก ทำให้ช่องปากสะอาดมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยแก้ลิ้นเป็นฝ้า
  • ช่วยในการขจัดคราบบุหรี่
  • แก้เล็บขบ
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง แน่นท้อง ด้วยการนำน้ำมะนาวมาใช้กินกับน้ำตาล
  • แก้อาการท้องร่วง
  • ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน
  • ช่วยรักษาอาการท้องผูก
  • ช่วยรักษาโรคกระเพาะ
  • แก้อาการบิด
  • แก้อาการปัสสาวะกะปริดกะปรอย 
  • ช่วยรักษาโรคนิ่ว
  • แก้อาการระดูขาว
  • แก้ผิดสำแดง
  • ช่วยฟอกโลหิต
  • ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิตจาง
  • แก้โรคเหน็บชา
  • ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • บรรเทาอาการคันบริเวณผิวหนัง
  • แก้สังคัง
  • แก้ปัญหา กาก เกลื้อน หิด
  • แก้หูด
  • แก้ฝีและอาการปวดฝี

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • อาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ใช้น้ำจากผลที่โตเต็มที่ เติมเกลือเล็กน้อย  จิบบ่อย ๆ หรือ จะทำน้ำมะนาวเติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย
  • อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้เปลือกผลสด 1/2-1 ผล ฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำขณะมีอาการ หรือหลังอาหาร 3 เวลา
  • ใช้มะนาว 1 ผล บีบเอาน้ำมะนาวมาชงกับน้ำร้อนดื่มหรือใช้มะนาวฝานบาง ๆ จิ้มเกลือกินจะช่วยขับเสมหะได้
  • เช้าหลังตื่นนอน ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว บีบมะนาว 1/4 ผล (หรือใส่เกลือเล็กน้อย) จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูก และช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกายน้ำมะนาวผสมผงกำมะถัน
  • ใช้ทาก่อนนอน แก้อาการกลาก เกลื้อน หิด
  • ใช้น้ำมะนาวทาที่ตุ่มคัน ทิ้งไว้ให้แห้ง ล้างน้ำสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง แล้วใช้แป้งทาตุ่มคัน แก้น้ำกัดเท้า
  • ในด้านความงาม ผลัดเซลล์ผิว ลดรอยด่างดำ ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่ ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้ง ทำสัปดาห์ละครั้ง ผิวหน้าจะดูสดใส หรือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำแช่อาบ
  • ใช้ในการแก้ไข้ทับระดู ด้วยการเอาใบมะนาวประมาณ 100 ใบมาต้มกิน
  • ช่วยแก้ลิ้นเป็นฝ้า ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำมะนาวเช็ดที่ลิ้นวันละ 2-3 ครั้ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2536. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์สุริยบรรณ.
  2. รวี เสรฐภักดี.2553.คู่มือประกอบการฝึกอบรมโครงการปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู:การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.นครปฐม
  3. Sethpakdee, R. 1992. Citrus aurantifolia (Christm. & Panzer) Swingle . In: L.P.A. Oyen and Nguyen Xuan Dung (Editors): Plant Resourses of South-East Asia No 2. Edible fruits and nuts. Prosea Foundation, Bogor, Indonesia. pp. 126-128.
  4. รศ.สุธาทิพ ภมรประวัติ.มะนาว ลดคลอเรสเตอรอลป้องกันโรคหลอดเลือด.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่354.คอลัมน์บทความพิเศษ.ตุลาคม.2551.
  5. มะนาว.ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpege&pid=105
  6. ธิราภา แสนเสนา นพดล กิตติวราฤทธิ์ มาลิน จุลศิริ รุ่งระวี เติมศิริฤกษ์กุล. ฤทธิ์ต้านเชื้อและฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากผิวผลพืชตระกูลส้ม. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.
  7. มะนาว.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. อรรถศิษฐ์  วงศ์มณีโรจน์.2553.คู่มือประกอบการฝึกอบรมโครงการปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู ดินและปุ๋ยสำหรับการปลูกมะนาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.นครปฐม.ไม้ผลเศรษฐกิจ.ฉบับที่102(251)/2552.วารสารเมืองไม้ผล.เทคนิคการปลูกมะนาวพันธุ์แป้นเกษตรดกพิเศษให้ออกในช่วงฤดูแล้ง.88-93 น.
  9. ประโยชน์ของมะนาวต่อการรักษาโรคได้ผลชัวร์หรือไม่.พบแพทย์ดอทคอม(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://pobpad.com
  10. อาจินต์ ปัญจพรรค์. ขุดทองในบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อนงค์ศิลป์การพิมพ์, 2524. น.