อ้อยแดง
  ชื่อสามัญภาษาไทยอ้อยแดง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSugar cane
  ชื่อที่เกี่ยวข้องอ้อยดำ, อ้อยขม
  ชื่อวิทยาศาสตร์Saccharin officinarum L
  ชื่อวงศ์Poaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อ้อยแดงมีลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละปล้องอาจยาวหรือสั้นก็ได้ ผิวเรียบ เปลือกสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ลำต้นแข็งเป็นมัน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา มักมีรากอากาศอยู่ประปราย
สรรพคุณทั่วไป

  • ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
  • ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส
  • น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เจริญธาตุ
  • ผิวของต้นอ้อย มี wax เอามาทำยา และเครื่องสำอาง

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา 
  • ใช้ลำตันทั้งสดและแห้งขออ้อยแดง วันละ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม แห้ง หนัก 30-40 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น 
  • อ้อยแดงมีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะได้ในหนูขาว กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า อ้อยแดงไม่มีพิษเฉียบพลัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.med.tu.ac.th/department/attm/?p=2202 
  2. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข