เถาวัลย์ปูน
  ชื่อสามัญภาษาไทยเถาวัลย์ปูน
  ชื่อวิทยาศาสตร์Cissus repanda (Wight & Arn.) Vahl
  ชื่อวงศ์Vitaceae
  ชื่อท้องถิ่นเครือจุ้มจ้า (เชียงราย) เถาพันซ้าย (อุตรดิตถ์) เถาวัลย์ปูน (กรุงเทพฯ) ส้มเฮียก (ภาคเหนือ) เครือเขาน้ำ เคือคันเขาขันขา เคือเขาคันเขา ส้มละออม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) ส้มออบ (ลั้วะ)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นเถาวัลย์ปูน เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก และมีมือเกาะคล้ายเถาตำลึง เถานั้นจะมีละอองเป็นสีขาว 

ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเท่าฝ่ามือ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจเฉือนปลายแหลม ส่วนตรงกลางใบและริม ทั้งสองข้างจะแหลมเป็นสามยอด ตรงกลางจะสูงและมีเว้าตรงข้าง 

ดอกเถาวัลย์ปูน ดอกมีลักษณะคล้ายดอกเถาคัน

สรรพคุณทั่วไป

  • ใช้ปรุงเป็นยากินรักษาโรคกระษัย น้ำมูกพิการ, ขับเสมหะ, ใช้ใบรักษาแผลสดได้

 
สรรพคุณเฉพาะส่วนของสมุนไพร
 
  ใบเถาต้มกิน ขับปัสสาวะ
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • สามารถใช้ใบแปะแผลได้ 
  • กินแก้โรคกะษัย ขับเสมหะ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เถาวัลย์ปูน”. หน้า 348-349. 
  2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เถาวัลย์ปูน, เถาพันซ้าย”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [12 ธ.ค. 2014].