ขางหัวหมู
  ชื่อสามัญภาษาไทยขางหัวหมู
  ชื่อวิทยาศาสตร์Miliusa velutina (A.DC.) Hook.f. & Thomson
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นโกงกาง จอแจ (นครราชสีมา) ขางหัวหมู (ภาคเหนือ) โจรเจ็ดนาย เต็งใบใหญ่ บังรอก หางค่าง (ประจวบคีรีขันธ์) แตงแซง (หนองคาย) ยางโดน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) สะแม้ะ หัวใจไมยราบ หางรอก หำรอก
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ขางหัวหมูลำต้นสูง 5 - 12 เมตร เปลือกค่อนข้างหนาและขรุขระ เรือนยอดโป่ง ตามกิ่งและยอดมีขนนุ่ม    

    ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบ alternate แผ่นใบรูปร่าง ovate ขนาด 9 - 12 X 15 - 20 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบ mucronate ฐานใบ obtuse - cordate แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบทั้งสองด้านมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น เส้นใบมี 10 - 14 คู่ ก้านใบยาว 4 - 6 มิลลิเมตร    
    
    ดอก ออกเป็นช่อ raceme ห้อยลง ที่ปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามแนวรัศมี ดอกบานมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยเรียวยาว 5 - 8 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น กลีบเลี้ยง สีเขียว 3 กลีบ รูปร่าง lanceolate ปลายแหลม ขนาด 1 X 2 มิลลิเมตร ปลายกลีบตั้งขึ้น กลีบดอก สีเขียว เรียงตัวเป็น 2 ชั้นๆละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอก รูปร่าง lanceolate ปลายแหลม ขนาด 1 X 3 มิลลิเมตร กลีบชั้นใน รูปร่าง ovate ปลายมน ขนาด 3 - 5 X 6 - 8 มิลลิเมตร เมื่อปลายกลีบจะตั้งขึ้น เกสรเพศผู้ จำนวนมาก เรียงตัวล้อมรอบเกสรเพศเมีย เกสรเพศเมีย มีรังไข่ 20 - 30 อัน แบบ superior ovary แต่ละรังไข่มี 1 carpel มี 1 locule มี ovule 1 อัน ติดแบบ basal placentation มี style 1 อัน

    ผล เป็นผลกลุ่ม berry 20 - 30 ผล ผลย่อยกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงส้ม เมล็ด แต่ละผลมี 1 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผล ห้ามเลือด แก้ท้องร่วง แก้บิด 
  • เปลือกให้น้ำฝาดสีน้ำตาลใช้ ย้อมผ้า อวน 
  • ลำต้นใช้ทำเสาเข็มในที่น้ำทะเลขึ้นถึง เผาถ่าน เนื่องจากเปลือกมีสารแทนนินและฟีนอล เป็นสารที่ใช้ทำสี, หมึกและยา  
  • ผสมแก่นหรือรากเจ็ดช้างสารใหญ่ ลำต้นกำลังช้างสาร และลำต้นกำลังเสือโคร่ง ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย บำรุงกำลังทางเพศ

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 118.
  2. การสำรวจพรรณพืชท้องถิ่น : พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ปัจจัยทางนิเวศวิทยาและการจัดทำฐานข้อมูลพืชพรรณ ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญชัย จังหวัดลำพูน รศ.ดร.ชูศรี ไตรสนธิ หน่วยวิจัยพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. http://202.28.248.55:5010/plantencyclopedia/index.php?title=ขางหัวหมู
  4. http://phayamengraischool.ac.th:81/pmr/botany/main/bota_school_detail.php?id_botany=00005
  5. http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=2120&view=showone&Itemid=59