|
ชื่อสามัญภาษาไทย | หอมแดง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Allium ascalonicum L. |
ชื่อพ้อง | Allium carneum Willd., Allium fissile Gray, Allium hierochuntinum Boiss., Porrum ascalonicum (L.) Rchb. |
ชื่อวงศ์ | Amaryllidaceae |
ชื่อท้องถิ่น | ผักบั่ว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว (ภาคกลาง), หอมแกง (ภาคใต้) |
หอมแดงมีลักษณะใบแทงออกจากลำต้นหรือหัว มีลักษณะเป็นหลอดกลม ด้านในกลวง มีสารสีนวลเป็นไขเคลือบผิวใบ ใบมีลักษณะตั้งตรงสูงประมาณ 15-50 ซม. แตกออกเป็นชั้นถี่ 5-8 ใบ ใบอ่อนสดของหอมแดงใช้ในการบริโภค ส่วนหัวหรือบัลบ์หัวหรือบัลบ์เป็นส่วนของกาบใบที่เรียงซ้อนกันแน่นจากด้านในของหัวออกมา เป็นแหล่งสะสมอาหาร และน้ำ มีลักษณะเป็นกระเปาะ เรียกว่า Bulbs มีลำต้นภายใน มีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ สีขาว ซึ่งเป็นที่เกิดของหัวหอม หัวหอมจะแตกใหม่ออกมาจากหัวเดิม โดยเฉลี่ย 2 - 20 หัวต่อกอ เส้นผ่านศูนย์กลางของหัวประมาณ 1.5-3.5 ซม. ต้นที่มองเห็นเหนือดินเป็นส่วนที่อยู่ต่อจากบัลบ์ จัดเป็นลำต้นเทียมที่เกิดจากกาบใบเรียงอัดกันแน่น ถัดมาจึงเป็นส่วนของใบ รากรากหอมแดงเป็นระบบรากฝอยจำนวนมาก งอกออกจากด้านล่างของต้น มีลักษณะเป็นกระจุกรวมกันที่ก้นหัว และแพร่ลงดินลึกในระดับตื้นประมาณ 10-15 เซนติเมตรและแผ่รอยต้นประมาณ 5-10 เซนติเมตร | |
| |
| |
|