หญ้าปากควาย
  ชื่อสามัญภาษาไทยหญ้าปากควาย
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษBeach wiregrass, Crowfoot grass, Egyptain finger grass
  ชื่อวิทยาศาสตร์Dactyloctenium aegyptium (L.) Willd.
  ชื่อพ้องCenchrus aegyptius (L.) P.Beauv., Chloris mucronata Michx., Cynosurus aegyptius L., Dactyloctenium aegyptiacum Willd., Dactyloctenium aegyptium var. mucronatum (Michx.) Schweinf., Eleusine aegyptia (L.) Roxb., Eleusine pectinata Moench
  ชื่อวงศ์Gramineae
  ชื่อท้องถิ่นหญ้าปากกล้วย (สิงห์บุรี), หญ้าปากควาย (ภาคกลาง), หญ้าปากคอก, หญ้าสายน้ำผึ้ง, หญ้าตีนตุ๊กแก
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หญ้าปากควายเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นกลม เป็นปล้องกลวง กว้าง 5 มม. ลำต้นตั้งสูงประมาณ 20 ซม. มักแตกต้นใหม่จากข้อที่ติดอยู่กับพื้นดินแล้วมีราก ใบรูปใบหอกยาวขนาดประมาณ 6 - 8 ซม. ปลายแหลม โคนเรียวมนมีขนเห็นชัด 

ดอกเป็นช่อ ก้านดอกกลมยาวประมาณ 10 - 20 ซม. ปลายก้านดอกมีช่อดอกย่อยแตกออกจากจุดกึ่งกลาง 3 - 6 ช่อ แต่ละช่อยาวประมาณ 3 - 4 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาวแซมเขียว แบนๆ ออกเรียงติดกัน 

ผลมีลักษณะเป็นผลรวมในผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่จำนวนมาก

สรรพคุณทั่วไป

  • ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยทำให้เจริญธาตุไฟ 
  • ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย 
  • ทั้งต้นเป็นยาช่วยดับพิษกาฬ แก้ไข้หวัดทุกชนิด แก้พิษไข้ แก้ไข้ตรีโทษและไข้หัวทุกชนิด 
  • ช่วยในการย่อยอาหาร
  • ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ 
  • สรรพคุณทางยาเป็นยาแก้พิษฝี 
  • ทั้งต้นนำมาตำผสมกับเหล้า ใช้พอกหรือทาแก้อาการปวด บวม และอาการอักเสบ 

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ทุกส่วนของลำต้นใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับโค กระบือ โดยเฉพาะในภาคอีสานที่พบหญ้าปากควายมากตามคันนา และแปลงนา ซึ่งเกษตรกรมักปล่อยโค และกระบือให้เล็มกินหญ้าชนิดนี้ เริ่มตั้งแต่ฤดูหลังการเก็บเกี่ยวข้าว 
  • ทั้งช่อดอก หรือช่อเมล็ด ใช้ต้มดื่มแทนชา 
  • เมล็ดใช้ทำอาหาร เช่น ชาวอินเดีย และแอฟริกา 
  • ใช้ปลูกเป็นหญ้าคลุมดิน ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน 
  • ใช้ปลูกเพื่อป้องกันดินเค็ม ลดการเคลื่อนตัวของเกลือไม่ให้ขึ้นมาหน้าดิน ซึ่งถือเป็นหญ้าทนเค็มได้ดีอีกชนิดหนึ่ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544
  2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หญ้าปากควาย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [30 ธ.ค. 2013].
  3. ฐานข้อมูลสมุนไพร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. “หญ้าปากควาย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thaiherb.most.go.th. [30 ธ.ค. 2013].
  4. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “หญ้าปากควาย“. (รัตนะ สุวรรณเลิศ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [30 ธ.ค. 2013].
  5. อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เครือข่ายกาญจนาภิเษก. “หญ้าปากควาย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.kanchanapisek.or.th. [30 ธ.ค. 2013].
  6. องค์ความรู้เรื่องข้าว สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว (สวข.). “หญ้าปากควาย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.brrd.in.th. [30 ธ.ค. 2013].
  7. ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “หญ้าปากควาย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [30 ธ.ค. 2013].
  8. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “หญ้าปากควาย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: web3.dnp.go.th. [30 ธ.ค. 2013].
  9. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “หญ้าปากควาย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dld.go.th/nutrition/. [30 ธ.ค. 2013].
  10. ปิยนันท์ ถนอมชาติ ,2547,การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาบางประการของหญ้าปากควายภายใต้สภาวะเครียดจากเกลือ